การประมาณความสูงและระบุเพศเพื่อประเมินหาความน่าเชื่อถือจากการวัดกระดูกนิ้วมือ: กรณี พนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Authors

  • เกวลี พุ่มเกษร

Keywords:

กระดูกนิ้วมือ, ข้อต่อข้อแรกของกระดูกนิ้วมือ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุเพศและประมาณความสูงของบุคคลจากกระดูกนิ้วมือ ในขั้นตอนการระบุตัวบุคคลจากชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์ที่พบบ่อยในกรณีภัยพิบัติและความผิดทางอาชญากรรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องระบุการประมาณความสูงและระบุเพศ  ในการศึกษานี้ได้วิจัยกระดูกนิ้วมือ 300 ตัวอย่างจากพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (ชาย 150 คน และ หญิง 150 คน ในช่วงอายุระหว่าง 20-60ปี) โดยการวัดความยาวของกระดูกนิ้วมือและความกว้างขอข้อต่อข้อแรก และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระดูกนิ้วกลางด้านซ้ายของทั้งเพศหญิงและชายเป็นนิ้วที่มีความสัมพันธ์กับความสูงของบุคคลมากที่สุด การระบุเพศจากความยาวของกระดูกนิ้วมือมีความแม่นยำมากกว่าจากความกว้างของข้อกระดูกนิ้วมือโดยมีค่าเท่ากับ 75.7% และ 62.3 % ตามลำดับ  นิ้วที่ให้ความแม่นยำในการระบุเพศจากความกว้างของข้อกระดูกนิ้วมือคือนิ้วกลางด้านซ้ายในเพศหญิง(58.0 %) และ จากความยาวของกระดูกนิ้วมือคือนิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายในเพศชาย(79.2%) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระดูกนิ้วมือด้านซ้ายมีความแม่นยำมากกว่าด้านขวาเนื่องจากเป็นมือข้างที่ไม่ค่อยถนัดจึงไม่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการใช้มือในชีวิตประจำวัน ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไปให้เก็บตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างในอาชีพเดียวกันเพื่อเป็นการควบคุมปัจจัยภายนอกมีอาจมีผลต่อการศึกษา โดยการวิเคราะห์ทางสถิติในการจำแนกนี้อาจช่วยนักนิติมานุษยวิทยาเมื่อกระดูกมนุษย์ส่วนอื่นไม่สามารถนำมาใช้ในการระบุตัวบุคคลได้

คำสำคัญ: กระดูกนิ้วมือ, ข้อต่อข้อแรกของกระดูกนิ้วมือ 

 

Abstract

The objective of this study is to obtain whether forensic identification of the skeletal structure of the hand bone is sufficient in determining the sex of the victim of a mass disaster or criminal case. This study has analyzed the bones of 300 hands (150 males and 150 females, aged between 20-60 years) from the staff of Bumrungrad International Hospital. It shows the middle finger on the right on both sexes is the most useful bone of stature estimation. Sexual determination from phalange’s length shows higher prediction accuracy of sex determination than from proximal inter-phalangeal joint wide at 75.7% and 62.3% respectively. The most useful of sexual determination from proximal inter-phalangeal joint wide is the middle left in female = 58.0 % and from phalange’s length is thumb left in male = 79.2 %. The results show left finger is more useful bone than the right one cause of less impact from regular activity. A suggestion in future study is to collecting the hand bones from people in the same occupation and control the living environment factor, the discriminant functions carried out by statistical analysis may aid the forensic anthropologist when no other human skeletal remains suitable for identification are available.

Keywords: Phalange, Proximal inter-phalangeal joint

Downloads

How to Cite

พุ่มเกษร เ. (2015). การประมาณความสูงและระบุเพศเพื่อประเมินหาความน่าเชื่อถือจากการวัดกระดูกนิ้วมือ: กรณี พนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(2), 75–84. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29436

Issue

Section

Original Articles