ฤทธิ์ความเป็นพิษของสารสกัดอินทนิลน้ำต่อเซลล์เมลาโนมาของคน: ศึกษาในหลอดทดลอง

Authors

  • ทัศนีย์ พาณิชย์กุล, ปิยานุช พรมภมร, ณัฐพร บู๊ฮวด, สมพรทิพย์ ศรีแย้ม, อารดี กาญจนประชาชัย, มลิวัลย์ เอมแย้ม

Keywords:

การทดสอบพิษ, อินทนิลน้ำ, เซลล์เมลาโนมา

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสารสกัดจากอินทนิลน้ำหรือตะแบก (Banaba or Queen’s flower) ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและเวชศาสตร์เครื่องสำอางอย่างมาก การทราบฤทธิ์ความเป็นพิษของสารสกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ จึงศึกษาฤทธิ์ความเป็นพิษของสารสกัดอินทนิลน้ำต่อเซลล์เมลาโนมาของคนในหลอดทดลอง โดยทำการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดอินทนิลน้ำต่อเซลล์เมลาโนมาที่ถูกเลี้ยงในอาหารชนิด ดีเอ็มอีเอ็ม (DMEM, dulbecco’s modified eagle medium) ที่มีส่วนผสมของซีรั่มลูกวัว 10 % (10 % of fetal bovine serum) และเซลล์ถูกเลี้ยงอยู่ในจานหลุม 96 หลุม (96-well tissue culture plate) ที่อุณหภูมิ 37 องศา และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5 %  ในการทดสอบใช้จำนวนเซลล์ 4X104 เซลล์ต่อหลุม และทดสอบกับสารสกัดอินทนิลน้ำที่ความเข้มข้น 125 -2000 µg/ml (เจือจางในอัตราส่วน 1:2) โดยหนึ่งความเข้มข้นถูกทดสอบต่อเซลล์สี่หลุม เป็นเวลา 24, 48, 72 ชั่วโมง โดยเซลล์ตายถูกล้างออกและเซลล์ที่มีชีวิตถูกย้อมด้วยสีคริสตอล ไวโอเลต (crystal violet) และวัดค่าดูดกลืนแสง (OD, optical density)  ที่ความยาวคลื่น 560 นาโนเมตร ค่า OD ที่วัดได้จะเป็นสัดส่วนกับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิต และถูกนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ความเป็นพิษของสารที่ทำให้เซลล์ตายหรือยับยั้งเซลล์มีชีวิต 50% (EC50, effective concentration inhibitory 50% of cell viability)ผลการศึกษาพบว่าค่า EC50 ของสารสกัดอินทนิลน้ำ ที่เวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง เท่ากับ 400, 230, 150 µg/mlตามลำดับ ผลการวิจัยที่ได้ทำให้ทราบฤทธิ์ความเป็นพิษของสารสกัดจากอินทนิลน้ำต่อเซลล์เมลาโนมาของคน เพื่อเป็นแนวทางในความปลอดภัยที่จะนำสารสกัดนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับสุขภาพและเครื่องสำอางต่อไป

คำสำคัญ :การทดสอบพิษ, อินทนิลน้ำ, เซลล์เมลาโนมา

 

Abstract

Extracts of banaba or queen crape myrtle from Lagerstroemia speciosa (L.) Pers have been useful in health science and cosmetic science. In this study, the cytotoxicity of extracts from banaba were tested against a melanoma cell line from human skin.  Melanoma cells were cultured in dulbecco’s modified eagle Medium (DMEM) supplemented with 10% fetal bovine serum (FBS) in 96-well tissue culture plates. Melanoma cells, the cell numbers of 4 X 104 cells/well were cultured in each well of 96-well plate overnight at 37OC with 5 % CO2. The concentrations of banaba’s extracts were 125 -2000 mg/ml (in ratios of 1:2) and one concentration of each extract was added in quadruplicate wells and incubated for 24, 48, and 72 hours. After that dead cells were washed and the remaining cells were stained with crystal violet and determined the absorbance of optical density at 560 nm (OD 560 nm) by microplate reader. The percentage of cell viability was calculated from OD and the EC50 (effective concentration that inhibit/kill 50% of cell viability) of extracts was analysed from percents of cell viability. Results of cytotoxic test showed that EC50 of extracts against cells after 24, 48, and 72 hour were 400, 230, 150 µg/ml,respectively. This EC50 indicates the cytotoxic activity of banaba’s extracts against human melanoma cells that is useful for safety in development of healt and cosmetic products.

Keywords:Lagerstroemia speciosa (L.) Pers, cytotoxicity, banaba, melanoma cells

Downloads

How to Cite

ณัฐพร บู๊ฮวด, สมพรทิพย์ ศรีแย้ม, อารดี กาญจนประชาชัย, มลิวัลย์ เอมแย้ม ท. พ. ป. พ. (2015). ฤทธิ์ความเป็นพิษของสารสกัดอินทนิลน้ำต่อเซลล์เมลาโนมาของคน: ศึกษาในหลอดทดลอง. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(2), 97–114. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29438

Issue

Section

Original Articles