การศึกษาการตกสะสมแห้งของไนโตรเจนเหนือพื้นที่ป่าชีวมณฑลสะแกราช
Keywords:
ไนโตรเจน, ฟลักซ์การตกสะสมแห้ง, ป่าชีวมณฑลAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาการตกสะสมแห้งของไนโตรเจนในบรรยากาศเหนือพื้นที่ป่าในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการตกสะสมของไนโตรเจนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสารกรดในชั้นบรรยากาศทั้งหมดสี่ชนิดทั้งในรูปของอนุภาค คือ แอมโมเนียม (NH+4) และไนเตรท (NO-3) และในรูปของก๊าซคือ แอมโมเนีย (NH3) และไนตริกเอซิด (HNO3) ตัวอย่างอากาศถูกเก็บด้วยอุปกรณ์ Filter packs ต่อเนื่อง 7 วันต่อเดือน โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2555 เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนแต่ละชนิดในบรรยากาศโดยพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ NH+4, NO-3, NH3 และ HNO3 มีค่าเท่ากับ 0.12, 0.16, 0.08 และ 0.13 µg/m3 ตามลำดับ ค่าฟลักซ์การตกสะสมของไนโตรเจนแต่ละชนิดเหนือพื้นที่ป่าของ NH+4, NO-3, NH3 และ HNO3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.012, 0.019, 0.009 และ 0.014 µg/m2•s ตามลำดับ ทั้งนี้ความเข้มข้นของไนโตรเจนทุกชนิดมีค่าความเข้มข้นในช่วงเวลากลางวันสูงกว่าช่วงเวลากลางคืนเนื่องมาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น กิจกรรมทางการเกษตร การจราจร และ สภาพภูมิอากาศ
คำสำคัญ: ไนโตรเจน ฟลักซ์การตกสะสมแห้ง ป่าชีวมณฑล
Abstract
Current knowledge about atmospheric nitrogen dry deposition in Thailand is limited, especially over the biosphere forests. In this study, the atmospheric concentrations of nitrogen species (NH+4, NO-3, NH3 and HNO3) were quantified using four stage filter packs to collect air samples from July to December 2012 at Sakaerat Environmental Research Station, Nakonrachasima, in the northeast of Thailand. The average concentrations of NH+4, NO-3, NH3 and HNO3 were observed to be 0.12, 0.16, 0.08 and 0.13 µg/m3, respectively. The nitrogen dry deposition flux of NH+4, NO-3, NH3 and HNO3 were evaluated to be 0.012, 0.019, 0.009 and 0.014 µg/m2•s, respectively. It was found that the concentrations of nitrogen species occurred during the daytime were higher than the nighttime, due to many factors such as agricultural and transportation activities as well as the meteorological conditions.
Keywords: Nitrogen, dry deposition flux, biosphere forest