ปริมาณความเข้มข้นและชนิดของกรดอินทรีย์ในเขตชุมชนและป่าชีวมณฑลสะแกราช

Authors

  • ขัตติยา สุขประเสริฐ พจนีย์ ขุมมงคล และ สุวิมล อัศวพิศิษฐ

Keywords:

กรดอินทรีย์, แหล่งกำเนิดปฐมภูมิ, สารประกอบทุติยภูมิ

Abstract

บทคัดย่อ

 

กรดอินทรีย์ในบรรยากาศส่วนใหญ่ประกอบด้วยหมู่คาร์บอกซิลิก และมีความสามารถในการละลายน้ำได้สูง การศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างอากาศจากพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ เขตป่าชีวมณฑลสะแกราช ในเขตชุมชน คือ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอโชคชัย เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหาปริมาณและชนิดของกรดอินทรีย์จากสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมแตกต่างกัน ตัวอย่างอากาศถูกเก็บอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วันต่อเดือนโดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2555 จากการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ในเขตป่า  ชีวมณฑลสะแกราชเฉลี่ย 6 เดือน มีค่าดังนี้ อะซิเตท 23.00 µg/m3, ซิเตรต 18.54 µg/m3, ฟอร์เมต 11.21 µg/m3, ทาร์เทรต 6.94 µg/m3, มาเลต 4.83 µg/m3 และในเขตชุมชนมีค่าดังนี้ อะซิเตท 23.90 µg/m3,  ซิเตรต 20.62 µg/m3, ฟอร์เมต 11.11 µg/m3, ทาร์เทรต 6.83 µg/m3, มาเลต 4.63 µg/m3 ส่วนความเข้มข้นของซัคซิเนตและแลคเตตเฉลี่ย 3 เดือน ในเขตป่าชีวมณฑล  สะแกราช มีค่าเท่ากับ 8.76 µg/m3และ 27.92 µg/m3และในเขตชุมชนมีค่าเท่ากับ 9.14 µg/m3และ 33.49 µg/mนอกจากนั้นความเข้มข้นของกรดอินทรีย์แต่ละชนิดในเวลากลางวันมีค่าสูงกว่าในเวลากลางคืน การเกิดสารกรดต่างๆ มาจากแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การจราจรอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการเผาไหม้ชีวมวลแล้วทำปฏิกิริยาโฟโตออกซิเดชั่นต่อเนื่องในบรรยากาศเกิดการรวมตัวกันเป็นสารประกอบทุติยภูมิ

คำสำคัญ:กรดอินทรีย์ แหล่งกำเนิดปฐมภูมิ และ สารประกอบทุติยภูมิ


Abstract

The most common organic acids in the atmosphere were associated with their carboxyl group and highly water-soluble. In this study, air samples collected from 2 sites: Sakaerat Biosphere Forest and Nakhon Ratchasima Provincial Land Transport Office were analyzed for their concentration comparison and to identify types of the organic acids. The samples were collected for 7 day/month from July to December 2012.   The concentrations identified as acetate, citrate, formate, tartrate and malate in Sakaerat Biospheric Forest have average values of 23.00 µg/m3, 18.54 µg/m3, 11.21 µg/m3, 6.94 µg/m3 and 4.83 µg/m3, respectively.  The concentrations of these organic acids in urban have average values of 23.90 µg/m3, 20.62 µg/m3, 11.11 µg/m3, 6.83 µg/m3 and 4.63 µg/m3, respectively. In addition, the concentrations of succinate and lactate in Sakaerat Biospheric Forest averaged for 3 months have the analysis values of 8.76 µg/m3 and 27.92 µg/m3, respectively. The concentrations in the urban averaged to be 9.14 µg/m3 and 33.49 µg/m3, respectively. Furthermore, the concentrations of these organic acids measured in daytime were found higher than nighttime.

Keywords: Organic acid, Primary sources, secondary compound

Downloads

How to Cite

และ สุวิมล อัศวพิศิษฐ ข. ส. พ. ข. (2015). ปริมาณความเข้มข้นและชนิดของกรดอินทรีย์ในเขตชุมชนและป่าชีวมณฑลสะแกราช. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(1), 49–58. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29453

Issue

Section

Original Articles