การศึกษาองค์ประกอบของจุลธาตุในเขตชุมชนเมืองและเขตห่างไกลความเจริญ

Authors

  • วธู ครองสัตย์ พจนีย์ ขุมมงคล และ สุวิมล อัศวพิศิษฐ

Keywords:

จุลธาตุ, วิธีฟิลเตอร์แพค, แหล่งปล่อยจุลธาตุ

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาชนิดและปริมาณความเข้มข้นของจุลธาตุในบรรยากาศในเขตชุมชนเมืองบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอโชคชัย และเขตห่างไกลความเจริญบริเวณป่าชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งศึกษาแหล่งปล่อยที่สัมพันธ์กับสภาวะภูมิอากาศหรือที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ในการศึกษานี้ตัวอย่างอากาศจะถูกเก็บด้วยวิธีฟิลเตอร์แพคเป็นระยะเวลา 6 เดือน เดือนละ 7 วันต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 จากผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าจุลธาตุในบรรยากาศที่มีค่ามากที่สุดคือ เหล็ก รองลงมา ได้แก่ สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส ทองแดง โครเมียม แคดเมียม และนิกเกิล ตามลำดับ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นอยู่ในช่วง 4.17 µg/m3 (เหล็ก) ถึง 0.01 µg/m3 (นิกเกิล) โดยปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยในเขตชุมชนเมืองมีค่ามากกว่าปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยในเขตพื้นที่ห่างไกลความเจริญในทุกชนิดของจุลธาตุที่ทำการตรวจวัด โดยมีค่ามากกว่าประมาณ 1-2เท่า และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณความเข้มข้นในช่วงวันพบว่าในช่วงกลางวันมีแนวโน้มของค่าปริมาณความเข้มข้นค่อนข้างสูงกว่าในช่วงกลางคืน โดยแหล่งปล่อยจุลธาตุที่สำคัญมักมาจากการปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นดินบนท้องถนน และปริมาณการจราจรที่ส่งผลให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นดิน เป็นต้น

คำสำคัญ: จุลธาตุ วิธีฟิลเตอร์แพค และแหล่งปล่อยจุลธาตุ

 

Abstract

This research focused on types and concentrations of atmospheric trace elements in an urban area of Nakhon Ratchasima Provincial Land Transport Office and a remote area of Sakaerat Biosphere Reserves.  The study also related the emission sources with the climatological conditions or that may affect to the ecosystem. The samples were collected by a filter pack method for 7 days per month in 6 months period from July to December 2012. The results showed that the average concentrations of iron were found at the highest quantity compared with other trace elements, followed by zinc, lead, manganese, copper, chromium, cadmium, and nickel, respectively. The average concentrations ranged from 4.17 µg/m3 (iron) to 0.01 µg/m3 (nickel). The average concentrations of all trace elements in the urban area were approximately 1-2 times higher than the remote area. It was also observed that the average concentrations in day time had a higher value trend than at night time. The important emission sources that resulted in increasing the ambient air concentrations of the trace elements come from the industrial activities, the suspended street dusts and soil dispersion associated with the traffic density.

Keyword:  trace elements, filter pack method, emission source of trace element

Downloads

How to Cite

และ สุวิมล อัศวพิศิษฐ ว. ค. พ. ข. (2015). การศึกษาองค์ประกอบของจุลธาตุในเขตชุมชนเมืองและเขตห่างไกลความเจริญ. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(1), 59–72. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29454

Issue

Section

Original Articles