สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอสตาแซนทินจากหัวกุ้ง โดยใช้เอนไซม์ปาเปนร่วมกับน้ำมันรำข้าว

Authors

  • ธรรมรัตน์ แสงหิรัญ และสุทัศน์ สุระวัง

Keywords:

แอสตาแซนทิน, หัวกุ้ง, เอนไซม์ปาเปน, น้ำมันรำข้าว

Abstract

บทคัดย่อ

  แอสตาแซนทินเป็นสารให้สีในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำมัน พบมากบริเวณส่วนหัวกุ้ง โดยอยู่ในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนกับโปรตีน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด แอสตาแซนทินจากหัวกุ้ง โดยใช้เอนไซม์ปาเปนร่วมกับน้ำมันรำข้าว วางแผนการทดลองแบบ Face-centered central composite design โดยศึกษาถึงอิทธิพลของความเข้มข้นเอนไซม์ (0.25, 0.75 และ 1.25% ของหัวกุ้ง) เวลาในการย่อยสลาย (30, 150 และ 270 นาที) และเวลาในการสกัด (30, 90 และ 150นาที) ที่มีต่อปริมาณแอสตาแซนทิน ผลการทดลองพบว่าการใช้เอนไซม์ปาเปนย่อยสลายโปรตีนในหัวกุ้งก่อนนำไปสกัดด้วยน้ำมันรำข้าวช่วยเพิ่มผลผลิตของแอสตาแซนทิน โดยสภาวะที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ปริมาณแอสตาแซนทินมากที่สุด (123.09µg/g) คือ ความเข้มข้นของเอนไซม์ 0.80% ของหัวกุ้ง เวลาในการย่อยสลาย 270 นาที และเวลาในการสกัด 105 นาที

คำสำคัญ : แอสตาแซนทิน หัวกุ้ง เอนไซม์ปาเปน น้ำมันรำข้าว


Abstract

Astaxanthin is an oil soluble pigment in group of carotenoidand usually found in shrimp head in form of carotenoprotein complex. The aim of this research was to investigate the optimum condition for extraction of astaxanthin from shrimp head using papain combined with rice bran oil. The face-centered central composite design was used to evaluate the effects of enzyme concentration (0.25, 0.75, and 1.25% of shrimp head), hydrolysis time (30, 150, and 270 min), and extraction time (30, 90, and 150 min) on astaxanthin yield. The results showed that enzymatic hydrolysis of shrimp head with papain followed by extraction with rice bran oil significantly enhanced astaxanthin yield. The optimum condition that gave the highest astaxanthin yield (123.09 µg/g) was enzyme concentration at 0.80% of shrimp head, hydrolysis time of 270 min, and extraction time of 105 min.

Keywords: astaxanthin, shrimp head, papain, rice bran oil 

Downloads

How to Cite

และสุทัศน์ สุระวัง ธ. แ. (2015). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอสตาแซนทินจากหัวกุ้ง โดยใช้เอนไซม์ปาเปนร่วมกับน้ำมันรำข้าว. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 6(1), 117–130. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29458

Issue

Section

Original Articles