การหยุดเรียนลดการแพร่กระจายของโรคมือเท้าปากในโรงเรียน
Keywords:
โรคมือเท้าปาก, เอนเทอโรไวรัส, โรคติดเชื้อในเด็ก, Hand-foot-mouth disease, Enteroviruses, young childrenAbstract
บทคัดย่อ
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุเกิดจากไวรัสเอนเทอโร พบเกิดการระบาดของโรคตามสถานที่รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนอนุบาล และส่วนใหญ่พบติดต่อในเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี การติดต่อของโรคเกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปาก โดยการสัมผัสตุ่มพอง ละอองน้ำมูกน้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อแสดงอาการมีไข้ต่ำ ๆ มีตุ่มพองที่มือเท้าและปาก หรืออาการป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต ปัจจุบันยังขาดวัคซีนป้องกัน ดังนั้นมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันแพร่ระบาดของโรคจึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการป้องกัน ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษา โดยเก็บข้อมูลของเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 247 ราย จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ ที่เกิดการระบาดของโรคมือเท้าปาก ในปีการศึกษา 2550 – 2551 เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ติดต่อของโรคภายโรงเรียน ได้แก่ การหยุดเรียน ระยะเวลาหยุดเรียน แหล่งที่มีโอกาสติดเชื้อ อาการป่วยของเด็กนักเรียน และการดูรักษาความสะอาด ของใช้ สถานที่ และการล้างมือ
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การหยุดเรียนทันทีเมื่อป่วย และการหยุดเรียนต่อเนื่องมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ พบเด็กป่วยลดลง 88.52 % ในปีการศึกษา 2551 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2550 และพบว่าถ้าเด็กนักเรียนที่ป่วยหยุดเรียนทันทีและหยุดเรียนอย่างต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ มีความสัมพันธ์ กับเด็กนักเรียนป่วย (correlation coefficient) เท่ากับ 0.868 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับค่าพี (p) น้อยกว่า 0.01 ดังนั้นการหยุดเรียนทันที และหยุดต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ จึงเป็นข้อปฏิบัติที่จำเป็น ซึ่งสามารถช่วยลดการแพร่กระจายของโรคในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเด็กนักเรียนที่ติดเชื้อจากภายนอกโรงเรียนนำเชื้อ มาแพร่กระจาย ในโรงเรียนได้ ตลอดเวลา ดังนั้น นอกจากโรงเรียนจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันสอดส่องและสกัดกั้นการแพร่กระจายของโรค
คำสำคัญ: โรคมือเท้าปาก; เอนเทอโรไวรัส; โรคติดเชื้อในเด็ก
Abstract
Hand-foot-mouth disease (HFMD) is caused by enteroviruses. HFMD is often found in young children less than 5 year-old at the nursery and kindergarten. Viruses are transmitted by oral route and commonly found in saliva, mucus and excrement of patient. Clinical symptoms are various, in a non-severe case, the symptoms include low fever, skin rash or vesicles and mouth ulcers or herpangina, and death is reported in severe cases. In this study, we collected health history of children under 5 year-old, 247 cases in academic year 2007 and 2008, had studied at a school, in Bangkok. To take leave for absence from school, sources of transmission, clinical symptoms, hygiene and cleansing were implemented and analyzed.
The results were found that to immediately take time off after get sick and resting at home longer 1 week or until get better significantly reduced 88.52 % of the numbers of patients in academic year 2008
as compared with the patients in academic year 2007. The statistic correlation coefficient of the numbers of patients and take time off after get sick and resting at home longer 1 week is 0.868 and significant at p-value less than 0.01. However, HFMD-patient who got viral infection outside school was still found, therefore, parent’s collaboration is the one factor to help for preventing outbreak of HFMD.
Keywords: Hand-foot-mouth disease; Enteroviruses; young children