พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Authors

  • ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
  • สุรชาติ สินวรณ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

Keywords:

พฤติกรรม, หมวกนิรภัย, การป้องกันอุบัติเหตุ, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, Behavior, Safety Helmet, Accident Prevention, Suan Dusit Rajabhat University

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมาศึกษา จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) ปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมาศึกษา 2) ปัจจัยทางจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้ในเรื่องหมวกนิรภัย ทัศนคติต่อการใช้หมวกนิรภัย ความเชื่ออำนาจในตน การมุ่งอนาคตและควบคุมตนเองในการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมายังมหาวิทยาลัย มีตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัย ได้แก่ ทัศนคติต่อการใช้หมวกนิรภัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความเชื่ออำนาจในตนในการใช้หมวกนิรภัย ระยะเวลาการในการขับขี่ และความรู้ โดยตัวแปรที่ทำนายได้ดีที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม เป็นตัวแปรที่มีอำนาจการทำนายสูงสุดถึงร้อยละ 40.4

คำสำคัญ: พฤติกรรม; หมวกนิรภัย; การป้องกันอุบัติเหตุ; มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

 

Abstract

The purpose of this correlational study was to study the factors of helmet use behavior for accidental prevention of the 345 motorcycle usage student at Suan Dusit Rajabhat University. The research instrument was questionnaire which was test for content validity and reliability with Cronbach’s Alpha Coefficient was 0.88. The data analyses were made by statistic program for percentage, mean, standard deviation, Chi-Square test, Pearson’s Product Moment Correletion Coefficient and Multiple Regression Analysis.

The major findings were as follows: 1) The Bio-social factors have relationships with the behavior of helmet-wearing motorcyclist student of Suan Dusit Rajabhat University. 2) The psychological factors such as attitude toward accidental prevention, internal locus of control and future oriented and self-control on helmet use had positive relationships with the behavior of helmet-wearing motorcyclist student of Suan Dusit Rajabhat University with statistical significance at .01 level. 3) The predictable factors on using of helmet for accidental prevention of student at Suan Dusit Rajabhat University were internal locus of control on helmet use such as attitude toward accidental prevention, salary, self-control, period of motorcycle usage and knowledge. The Social support factors were best of predictable factor that could maximum predictable about 40.4 percent.

Keywords: Behavior; Safety Helmet; Accident Prevention; Suan Dusit Rajabhat University

Downloads

How to Cite

วิริยาวัฒน์ ณ., & สินวรณ์ ส. (2013). พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 5(2), 65–88. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5099

Issue

Section

Original Articles