การพัฒนาส่วนผสมผลิตภัณฑ์อิฐดินเผาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง

Authors

  • สุทัศน์ จันบัวลา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

อิฐดินเผา, เครื่องปั้นดินเผา, เซรามิกส์, Brick, Pottery, Ceramic

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการผลิตอิฐดินเผาในจังหวัดระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ซึ่งพบว่ากระบวนการผลิตนั้นยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องของส่วนผสมวัตถุดิบ และขนาดที่ยังไม่ได้มาตรฐาน การศึกษาเบื้องต้นโดยการนำผลิตภัณฑ์อิฐ และวัตถุดิบจากผู้ผลิต มาวิเคราะห์พบว่าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตคือดินเหนียวจากท้องนามีส่วนประกอบของหลักที่เหมือนกันคือ ซิลิคอนไดออกไซด์ อะลูมิเนียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ ความสามารถในการรับแรงอัดและร้อยละของการดูดซึมน้ำยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน การปรับปรุงส่วนผสมวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยผสมแกลบและเถ้าแกลบในอัตราส่วนที่แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 0 - 10 โดยน้ำหนัก จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณของแกลบจะทำให้ชิ้นงานอิฐดินเผามีความสามารถในการรับแรงอัดและความหนาแน่นลดลง โดยชิ้นงานอิฐดินเผาจะมีสมบัติดีที่สุดเมื่อเติมเถ้าแกลบลงไปร้อยละ 2 โดยน้ำหนักโดยมีความสามารถในการรับแรงอัด 6.20 เมกะพาสคัล ความหนาแน่น 1.68 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และร้อยละของการดูดซึมน้ำเท่ากับ 15.20

คำสำคัญ: อิฐดินเผา; เครื่องปั้นดินเผา; เซรามิกส์

 

Abstract

This research has aimsed to design and develop the manufacturing process of ceramic bricks productsof Ayuttaya and Angthong province. It was found that the manufacturing process was unstable in terms ofcomposition of raw materials and size of produced bricks. From preliminary study by analyzing some brickproducts and raw materials from manufacturers, all of the plastic clay from rice field which was the major oxidepart of raw materials, composed of the same main compositions, silicon dioxide, aluminum oxide and ironoxide . However, water absorption, compressive strength did not meet the industrial standard. Modification wasdone by adding rice husk or rice husk ash for 0 -10% by weight. The results showed that the amount of rice husk to the brick part of the ability of compressive strength and lower density and the results shown that the suitablecompositions composed of rice husk ash 2% by weight to obtain the best properties bricks at compressivestrength, density, percentage ofwater absorption were 6.20 MPa, 1.68 g/cm3, 15.20 %, respectively.

Keywords: Brick; Pottery; Ceramic

Downloads

How to Cite

จันบัวลา ส. (2012). การพัฒนาส่วนผสมผลิตภัณฑ์อิฐดินเผาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 5(1), 13–22. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5147

Issue

Section

Original Articles