ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำในนาข้าว

Authors

  • แตงอ่อน พรหมมิ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, แมลงน้ำ, คุณภาพน้ำ, นาข้าว, biodiversity, aquatic insects, water quality, rice fields

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างของแมลงน้ำในนาข้าวที่มีการใช้ปุ๋ย ใน 1 ฤดูกาลทำนา ศึกษาปัจจัยคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีในนาข้าว 6 แห่ง (สินเหล็ก 1, 2 และ 3 ไรซ์เบอรี่1, 2 และ 3 นาข้าวแต่ละแห่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่) ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2553 เก็บตัวอย่างแมลงน้ำและคุณภาพน้ำ 3 ครั้งตลอดฤดูกาลทำนาดังนี้ช่วงต้น (20 วันหลังจากนำน้ำเข้านา) ช่วงกลาง (60 วันหลังจากนำน้ำเข้านา) และช่วงท้ายฤดูกาลทำนา (1 อาทิตย์ก่อนการเก็บเกี่ยว) เก็บตัวอย่างแมลงน้ำ 3 ซ้ำในแต่ละช่วงโดยใช้สวิงน้ำ พบแมลงน้ำ 5 อันดับ 17 วงศ์ โดยแมลงน้ำที่มีความหลากหลายมากที่สุดคือมวนน้ำ (8 วงศ์) รองลงมาคือด้วงน้ำ (3 วงศ์) แมลงสองปีก (3 วงศ์) แมลงปอ (2 วงศ์) และแมลงชีปะขาว (1 วงศ์) ความหลากหลายของแมลงน้ำพบมากที่สุดในช่วง 20 วันหลังจากนำน้ำเข้านา ดัชนีความหลากชนิดพบสูงที่สุดในนาข้าวสินเหล็ก 1 (0.9218) รองลงมาคือ สินเหล็ก 2 (0.7547) ไรซ์เบอรี่ 1 (0.7436) สินเหล็ก 3 (0.6797)ไรซ์เบอรี่ 3 (0.5911) และไรซ์เบอรี่ 2 (0.4355) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำกับแมลงน้ำ พบว่าอุณหภูมิน้ำและอากาศ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเป็นด่าง ไนเตรท-ไนโตรเจน แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ออร์โธฟอสเฟตซัลเฟต ความขุ่นใสของน้ำและความสูงของพืชมีความสัมพันธ์กับแมลงน้ำอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05, p<0.01)

คำสำคัญ: ความหลากหลายทางชีวภาพ; แมลงน้ำ; คุณภาพน้ำ; นาข้าว

 

Abstract

Aquatic insect in rice fields was surveyed to compare the different of biodiversity during a crop cycle.The physico-chemical parameters of water quality were also analyzed in six paddies (SL1 to SL3 and RB1 toRB3, the area of each paddy around 1 ha.) at Kamphaeng Saen district, Nakhon Pathom Province during Marchto June 2010. The samples were taken 3 periods as follows: 1) 20 days (early flooding period), 2) 60 days (midflooding period), and 3) a week before harvesting (late flooding period). Three replicates of sampling by aquaticD-net was used at sampling sites. Five orders and 17 families were recorded in this study. The hemipteranwas the highest in abundance groups in the fields (8 families) followed by coleopteran (3 families), dipteran(3 families), odonate (2 families), and mayfly was the lowest in abundance (1 families). The most abundanceof aquatic insects was found in 20 days ADF than the other two periods. The species diversity index (H') washighest in SL1 (0.9218) followed by SL2 (0.7547), RB1 (0.7436), SL3 (0.6797), RB3 (0.5911), and RB2 wasthe lowest (0.4355) during a crop cycle. Using correlation analysis, we evaluated the relationship betweenphysico-chemical water quality parameters and biological data. The air and water temperature, pH, alkalinity,nitrate-nitrogen, ammonia-nitrogen, orthophosphate, sulfate, turbidity, and plant height were correlated withaquatic insects occurring in the fields (p<0.05, p<0.01).

Keywords: biodiversity; aquatic insects; water quality; rice fields

Downloads

How to Cite

พรหมมิ แ. (2012). ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำในนาข้าว. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 5(1), 35–46. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5156

Issue

Section

Original Articles