การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนระดับปฐมวัย ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย

Authors

  • ยุพิน สีแก่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

กล้ามเนื้อมัดใหญ่, นักเรียนระดับปฐมวัย, ความบกพร่องทางสติปัญญา, Muscles, Early Childhood Students, Mental Retardation

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดลองก่อนและหลังทำกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย และ แบบประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ประกอบด้วย 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเดิน การยืน ทักษะการวิ่ง ทักษะการกระโดด และ ทักษะการทรงตัว ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละ 1 กิจกรรม กิจกรรมละ3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวมทั้งหมด 30 ครั้ง ผู้วิจัยทำการจัดกิจกรรมด้วยตนเองดังนี้

ทดสอบก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยกับนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย โดยใช้ แบบประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน ประกอบด้วย4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเดิน การยืน ทักษะการวิ่ง ทักษะการกระโดด และ ทักษะการทรงตัว

ดำเนินการทดลองโดยผู้วิจัยจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มทดลองด้วยตนเองเป็นเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 45 นาที ในช่วงเวลา 9.30-10.15 นาฬิกา รวม 10 กิจกรรม 30 ครั้ง และหลังทดสอบการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีการประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีทักษะสอดคล้องกับกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย

การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บจากกลุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบการประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ จากการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย แต่ละข้อมีเกณฑ์คะแนน คือ ทำได้ ให้ 1 คะแนน ทำไม่ได้ให้ 0 คะแนน ประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่โดย วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน ระหว่าง ก่อน และหลังการจัดกิจกรรม

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของกลุ่มตัวอย่าง สูงขึ้นหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสติติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีพัฒนาการด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นเช่นทักษะทางภาษา ทักษะทางสังคม การมีปฏิสัมพันธ์ในการร่วมเล่นกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนได้ดีขึ้น

คำสำคัญ: กล้ามเนื้อมัดใหญ่; นักเรียนระดับปฐมวัย; ความบกพร่องทางสติปัญญา

 

Abstract

The objective of the study of the ability to control muscles of early childhood students with slightlymental retardation through folk games was to study the ability to control the muscles of the early childhoodstudents with slightly mental retardation, and to compare the ability to control the muscles of those studentsbefore and after organizing the folk games.

The sample group used in this research was 6 early childhood students with slightly mental retardationstudying in the 1st semester of 2011 at La-orutis Demonstration School, Special Education Center. All of themwere studying in the 3rd year of kindergarten, 3 girls and 3 boys. The sample group was selected by usingspecify sampling method. The research methodology was to conduct the experiment through Thai folk gamesfor 10 weeks, 1 activity for each week, and 3 times for 1 activity, and each time for 45 minutes. Total activitywas 30 activities. The research was evaluated by using the 30-question evaluation form on the ability to controlthe muscles through folk games, which covered walking skill, standing skill, running skill, jumping skill, andbalance skill, created by the researcher. The data was analyzed by using statistics, percentage, average, standarddeviation, and t-test.

The study result showed that

1. The efficiency of the folk games for the early childhood students with slightly mental retardationwas equal to 85.57/92.23, which was higher than the set standard of 80/80.

2. The ability to control muscles of early childhood students with slightly mental retardation throughfolk games after playing folk games was in good level in average.

3. The ability to control muscles of early childhood students with slightly mental retardation throughfolk games after playing folk games was higher than that before playing folk games with statistical significanceat 0.05.

Keywords: Muscles; Early Childhood Students; Mental Retardation

Downloads

How to Cite

สีแก่ ย. (2012). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนระดับปฐมวัย ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 5(1), 61–70. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5168

Issue

Section

Original Articles