ผลผลิตมันสำปะหลังโรงงานปีการเพาะปลูก 2551/2552 ของจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • สุเมศ ทับเงิน นักวิชาการเกษตร สถานีวิจัยเขาหินซ้อน สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
  • เอ็จ สโรบล อาจารย์ประจำคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุสรณ์ กุลวงษ์ นักวิชาการเกษตร สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร วิทยาเขตสกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ผลผลิต, มันสำปะหลัง, นครราชสีมา, Production, Cassava, Nakorn Ratchachima

Abstract

บทคัดย่อ

จากผลการสำรวจ พบว่า เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา ปลูกมันสำปะหลัง พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มากที่สุดรองลงมาคือ พันธุ์ระยอง 72 และน้อยที่สุดคือ พันธุ์ระยอง 9 โดยคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 67.60 22.40 และ 10.00ตามลำดับ สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกมันสำปะหลัง พบว่า อำเภอเสิงสาง มีต้นทุนการเพาะปลูกสูงสุด รองลงมาอำเภอพิมาย และต่ำสุดคือ อำเภอห้วยแถลง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5,197 5,188.14 และ 3,947 บาท/ไร่ จากค่าเฉลี่ยต้นทุนการเพาะปลูกทั้งหมด เท่ากับ 4,767.28 บาท/ไร่ และผลผลิตเฉลี่ยมันสำปะหลังต่อไร่ พบว่า พื้นที่เพาะปลูกของอำเภอที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ อำเภอครบุรี รองลงมา คือ อำเภอห้วยแถลง และอำเภอพิมาย ส่วนอำเภอสีคิ้วให้ผลผลิตมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 4.30 4.10 4.10 และ 3.30 ตัน/ไร่ จากค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.79 ตัน/ไร่ สำหรับราคาขายผลผลิต บาท/กก. และรวมรายรับจากการขายผลผลิตมันสำปะหลัง(บาท/ไร่) ที่กลุ่มเกษตรกร ได้รับ พบว่าเกษตรกรอำเภอขามสะแกแสง ขายหัวสดมันสำปะหลัง ราคาบาท/กก. สูงสุด รองลงมาคือ ปักธงชัย สีคิ้ว พระทองคำและด่านขุนทด ส่วน อำเภอห้วยแถลง ขายได้ราคาต่ำสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.70 1.60 1.60 1.60 และ 1.40บาท/กก. จากราคาขายมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 1.56 บาท/กก. และรวมรายได้จากการขายผลผลิตมันสำปะหลัง/ไร่ จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า อำเภอพิมาย ขายผลผลิต/ไร่ ในราคาสูงสุด รองลงมาคืออำเภอเสิงสาง และต่ำสุดคืออำเภอห้วยแถลง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจำนวน 6,601 6,560 และ4,620 บาท/ไร่ ตามลำดับ จากค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับจำนวน5,915.27 บาท/ไร่ สำหรับผลตอบแทนจากการทำไร่มันสำปะหลังที่ได้รับ/ไร่ พบว่าอำเภอที่ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด คือ พิมาย รองลงมาคือด่านขุนทด และต่ำสุดคืออำเภอชุมพวง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจำนวน 1,912.80 1,700และ 667.89 บาท/ไร่ ตามลำดับ จากค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 1,200.02 บาท/ไร่ จากผลการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาต้นทุนการเพาะปลูก ราคาขายผลผลิตมันสำปะหลังหัวสด และเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกของจังหวัดนครราชสีมาต่อไป

คำสำคัญ: ผลผลิต; มันสำปะหลัง; นครราชสีมา

 

Abstract

This study is a survey research that emphasized on the productive of cassava of Nakorn Ratchasimaprovince from 2008-2009. The objective of the study are (1) To find data of cultivation, productivity price, andtotal income of cassava growing at Nakorn-Ratchasima province (2) To analyze cost of cassava cultivation atNakorn Ratchasima province, and (3) To find limitation of cassava caltivation at Nakorn-Ratchasima province.

Results of this study shows most of cultivations grown Kasetsart-50 cassava, an everage value is67.60 %, followed by 22.40 % Rayong -72, and 10.00 % Rayong-9 is minimum. Cost of cassava cultivationSoeng-Sang district is maximum, an everage value is 5,197 Baht/Rai, followed by 5,188.14 Baht/Rai of Phimaidistrict, and 3,947 Baht/Rai Huai-Tha-laeng district. The total everage cost is 4,767.28 Baht/Rai. Productivityof cassava of Khon-Buri district is maximum, an everage value is 4.30 tons/Rai, followed by 4.10 tons/Rai ofHuai-Tha-laeng district, and 3.30 tons/Rai of Phimai district. The total everage productivity is 3.79 tons/Rai.Price of cassava at Kham-Sakae-Saeng is maximum, an everage value is 1.70 Bath/kg., followed by 1.60Bath/kg. of Pak-Thong-Chai district, the same as Si-Khio district, Phra-Thong-Kham district, and Dan-Khun-Thot district. The maximum price of cassava is 1.40 Baht/kg. at Huai-Tha-laeng district. Total everage price is1.56 Baht/kg. Total revenue of cassava cultivation at Phimai district is maximum, an everage value is 6,601Baht/Rai, followed by 6,560 Baht/Rai of Soeng-Sang district, and 4,620 Baht/Rai of Huai-Tha-laeng district.Total revenue is 5,915.27 Baht/Rai. Return per area of cassava cultivation at Phimai district is maximum, aneverage value is 1,912.80 Baht/Rai, followed by 1,700 Baht/Rai of Dan-Khun-Thot district, and 667.89Baht/Rai of Chum-Phuang district. Total everage return is 1,200.02 Baht/Rai. These researches results will beused to develop the solution for solving the problem of cultivation cost, product price, and to increase cassavacultivate capacity of the cultivation at Nakorn-Ratchasima.

Keywords: Production; Cassava; Nakorn Ratchachima

Downloads

How to Cite

ทับเงิน ส., สโรบล เ., & กุลวงษ์ อ. (2013). ผลผลิตมันสำปะหลังโรงงานปีการเพาะปลูก 2551/2552 ของจังหวัดนครราชสีมา. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 4(1), 17–24. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5180

Issue

Section

Original Articles