การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน
Keywords:
คุณภาพชีวิตผู้ดูแล, ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, แนวปฏิบัติการพยาบาล, caregiver’s quality of life, terminally ill cancer patients, clinical nursing practice guidelinesAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน โดยการประยุกต์รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาจากประสบการณ์การทำงานในหน่วยดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์โดยกำหนดคำสำคัญ ได้งานวิจัยที่ตรงประเด็นปัญหาระหว่างพ.ศ. 2542 - 2553 จำนวน 10 เรื่องประกอบด้วย การวิเคราะห์เมต้า 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 3 เรื่อง งานวิจัยที่เป็นการศึกษาติดตามไปข้างหน้า 2 เรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงบรรยาย 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยาย 2 เรื่อง และบทความพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 1 เรื่อง จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาล และให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยมะเร็งหน่วย Palliative care ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และส่วนที่ 2 รูปแบบและกิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หลังจากนั้นได้นำไปทดลองใช้กับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน 3 ราย เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลพบว่า ผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการได้รับกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและการดูแลตนเอง รวมทั้งการร่วมกิจกรรมกลุ่มทำให้มีเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในชุมชน ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตผู้ดูแล; ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย; แนวปฏิบัติการพยาบาล
Abstract
The purpose of this study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for promotingthe caregivers’ quality of life using evidence-based practice model of the Center for Advanced Nursing Practice in America. The data were collected from caregivers who were responsible for taking care of the terminally illcancer patients in the community and ten related empirical evidence from 1999 - 2010. The evidence includedone meta-analysis, three randomized controlled trials, two longitudinal studies, one systematic review, twodescriptive research and one article from a specialist. All of the relevant evidence was measured in terms of thestrength of information before being analyzed and synthesized to develop a CNPG. The CNPG was validatedby the experts from Palliative Care Unit and also measured in terms of possibility. The CNPG consisted of twoparts; the first part was the assessment of caregivers’ quality of life and the second part was the nursinginterventions. The CNPG had been implemented at the primary care unit with three patients for four weeks. Itwas found that the caregivers were satisfied with the programs of nursing interventions in the way that theyenhanced their knowledge of patient cares and self cares. In addition, activity participation created a supportgroup which improved both quality of care and their quality of life.
Keywords: caregiver’s quality of life; terminally ill cancer patients; clinical nursing practice guidelines