การศึกษาปริมาณ จำแนกประเภทและแนวทางการจัดการมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • เสรีย์ ตู้ประกาย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

มูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน, พฤติกรรมการแยกมูลฝอย, จังหวัดนนทบุรี, household hazardous waste, Separation behaviors, Nonthaburi province

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณ และประเภทของมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน รวมถึงพฤติกรรมการแยกมูลฝอยอันตรายจากมูลฝอยทั่วไปก่อนทิ้ง โดยการสำรวจภาคสนามด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ครัวเรือน และศึกษาการเก็บรวบรวม การเก็บขน การเก็บกัก การบำบัดและกำจัดมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อประเมินวิธีการจัดการมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทิ้งถ่านไฟฉายมากที่สุดประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน ครอบครัวที่มีรายได้สูงจะทิ้งถ่านไฟฉาย แบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์/หลอดไส้ น้ำยาเช็ดกระจก มากกว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่อยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์มีการทิ้ง มูลฝอยอันตรายหลายประเภทในปริมาณมากกว่าผู้ที่อยู่อาศัยแบบอื่น ลักษณะการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยไม่มีผลต่อประเภทของมูลฝอยอันตรายที่ทิ้งมูลฝอยอันตรายที่มีการแยกก่อนทิ้งมากที่สุดคือ ปุ๋ยเคมีหมดอายุ แต่ถ่านไฟฉาย และน้ำยาทำความสะอาดพื้น/ห้องน้ำ/ครัว มีการแยกก่อนทิ้งน้อยที่สุด ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจะมีพฤติกรรมการแยกมูลฝอยอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนทิ้งน้อยกว่าครอบครัวที่มีรายได้สูง ผู้ที่มีระดับการศึกษาไม่สูงนักมีพฤติกรรมการแยกมูลฝอยอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนทิ้งต่ำกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า ผู้เช่ามีพฤติกรรมในการแยกมูลฝอยอันตรายก่อนทิ้งน้อยกว่าลักษณะการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแบบอื่น ส่วนสถานภาพสมรส และอาชีพไม่มีผลต่อพฤติกรรมการแยกมูลฝอยอันตรายจากมูลฝอยทั่วไปก่อนทิ้งที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

การเก็บรวบรวม การเก็บขน การเก็บกัก และการบำบัด/กำจัดมูลฝอยอันตรายในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการโดยหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาลนครนนทบุรีร่วมกับกรมควบคุมมลพิษจัดทำโครงการบริการจัดการมูลฝอยแบบครบวงจร โดยมีการจัดตั้งภาชนะรวบรวมมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนทั้งสิ้น 42 จุด โดยใช้รถเก็บขนมูลฝอยอันตรายโดยเฉพาะ 2 คัน และรถเก็บขนมูลฝอยทั่วไปที่ดัดแปลงให้มีช่องใส่หลอดฟลูออเรสเซนต์45 คัน ดำเนินการเก็บขนมูลฝอยอันตรายไปเก็บกักที่ศูนย์บริการ และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเก็บกัก มูลฝอยอันตรายได้อย่างน้อย 10 ตัน เพื่อรอการบำบัด/กำจัด โดยหน่วยงานเอกชน โดยที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ตรงที่ไม่แตกหักจะถูกนำไปรีไซเคิลโดยบริษัท ไทยโตชิบา ไลท์ติ้ง จำกัด ส่วนมูลฝอยอันตรายอื่นๆ จะนำไปฝังกลับอย่างปลอดภัยโดยบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์กรีน จำกัด ณ ศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี ส่วนอำเภอปากเกร็ดอำเภอบางกรวยอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอไทรน้อย ยังไม่มีการจัดการมูลฝอยอันตรายที่ชัดเจนมูลฝอยอันตรายจะถูกเก็บรวบรวม เก็บขน และเก็บกักพร้อมกับมูลฝอยทั่วไป และนำไปฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะที่หมู่ 8 ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ: มูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน; พฤติกรรมการแยกมูลฝอย; จังหวัดนนทบุรี

 

Abstract

The research aims to investigate quantity and classification of household hazardous waste (HHW),including the waste separation behaviors before dumping. The work was random sampling of field study form400 samples with questionnaires. The methodology consisted of collection, transportation, storage, treatmentand disposal HHW in Nonthaburi from the responsible agency to evaluate HHW management. The resultdemonstrated that household battery was the maximum waste provided by residents twice a month. There is asignificant difference (P<0.05) between the high income family in separation behavior. The high incomefamily discarded household battery, fluorescents/ incandescent and mirror wiping liquid more than low incomefamily. More variety and quantity of wastes is produced by the townhouse resident than the other type ofresidents. The type of resident did not affect to HHW. The HHW which were separated before dumping areexpired chemical fertilizers, battery and mirror wiping liquid. The lowest HHW which separated beforedumping is kitchen cleaner liquid. The lower income family has separations behavior less than highly incomefamily. In addition to, lower education family showed separations behavior in the same way, lower than highlyeducation family. The rental residents were low in separations behavior than other owners. The marriage statusand career will not affected to separations behavior of HHW at the statistical level of 0.05.

The collection, transportation, storage, treatment and disposal HHW in Muang Nonthaburi areoperated by the local government agency, The municipality of Nonthaburi and Pollution Control Department(PCD) by total waste management program. This program provides 42 dumping points and transported by 2specific HHW trucks. Moreover, the 45 modify trucks which modified from municipal waste trucks by addingthe fluorescents lamp hole. These trucks use for transported HHW to service centers at the capacity of 10 ton.The further process is operated by private companies. Unbroken fluorescents lamp will be recycled by ThaiToshiba Lighting company. Others HHW will be bury by Better World Green company at the industry wastemanagement center in Saraburi province. The area of Pakkred, Bangkruy, Bangyai, Bangbuathong and Sai Noi do not have recognized waste management clearly. HHW is collected with municipal waste and bury in Moo 8Krong Kwang Sai Noi in Nonthaburi province under the responsibility of Nonthaburi local government agency.

Keywords: household hazardous waste; Separation behaviors; Nonthaburi province

Downloads

How to Cite

ตู้ประกาย ส. เ., & ตู้ประกาย เ. (2013). การศึกษาปริมาณ จำแนกประเภทและแนวทางการจัดการมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 4(1), 53–66. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5194

Issue

Section

Original Articles