การศึกษาคุณภาพน้ำและความหลากหลายชนิดของโปรโตซัวในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • ยุวรัตน์ ปรมีศนาภรณ์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

ความหลากหลายชนิด, คุณภาพน้ำ, โปรโตซัว, แม่น้ำเจ้าพระยา, biodiversity, water quality, protozoa, Chao Praya River

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำ และความหลากหลายชนิดของโปรโตซัวในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี เก็บตัวอย่าง 9 บริเวณ ระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนสิงหาคม2549 แบ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง 6 เดือน (เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2549) และในช่วงฤดูฝน 3 เดือน (เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2549) โดยนำตัวอย่างน้ำมาวิเคราะห์ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความขุ่น ความโปร่งแสง อุณหภูมิของน้ำ และอากาศ ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่าบีโอดี ปริมาณฟอสฟอรัส และไนโตรเจนแล้วนำผลการวิเคราะห์เทียบกับมาตรฐานคุณภาพของแหล่งน้ำ พบว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจัดอยู่ในเกณฑ์แหล่งน้ำประเภทที่ 3 ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน และเกณฑ์ตามระบบการย่อยสลายสารอินทรีย์(Saprobic system) ที่แบ่งคุณภาพน้ำตามค่า Biochemical oxygen demand (BOD) ของ Kolkwitz และ Marssonคุณภาพน้ำจัดอยู่ในเขตน้ำเสื่อมสภาพที่มีปริมาณสารอินทรีย์ปานกลาง (Mesosaprobic Zone) มีค่า Biochemicaloxygen demand (BOD) อยู่ในช่วง 2.5-10 มิลลิกรัมต่อลิตร ความหลากชนิดของโปรโตซัวในแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูแล้งพบโปรโตซัวทั้งหมด 32 ชนิด 4 classes และในฤดูฝนพบโปรโตซัวทั้งหมด 50 ชนิด 7 classes

คำสำคัญ: ความหลากหลายชนิด; คุณภาพน้ำ; โปรโตซัว; แม่น้ำเจ้าพระยา

 

Abstract

The aims of this research study were to study water quality and find out varieties of protozoa speciesin the Chao Phraya River at Nonthaburi province. Research samples were collected from nine areas during thenine-month time span from December 2005 to August 2006 comprising six dry season months (December 2005- February 2006) and three rainy season months (June - August 2006). The water samples were analyzed todetermine quality in terms of conductivity, turbidity, transparency, water and air temperature, pH value,dissolved oxygen (DO), biochemical oxygen demand (BOD), and amounts of nitrogen and phosphorus. Afterthat, the analysis results were compared with surface water quality standards. Research findings indicated that water quality of the Chao Phraya River was classified as being in the type 3 based on the surface water qualitystandards. Also, when water quality was determined based on Kolkwitz and Marsson’s criteria of biochemicaloxygen demand (BOD), the water quality was in the Mesosaprobic Zone, with BOD ranging from 2.5 - 10milligram/liter. As for the varieties of protozoa species, 32 species in four classes of protozoa were observedin the dry season, while 50 species in nine classes of protozoa were observed in the rainy season.

Keywords: biodiversity; water quality; protozoa; Chao Praya River

Downloads

How to Cite

ปรมีศนาภรณ์ ย. (2013). การศึกษาคุณภาพน้ำและความหลากหลายชนิดของโปรโตซัวในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 3(1), 21–34. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5202

Issue

Section

Original Articles