อินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้งนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศไทย: ระยะที่ 1

Authors

  • พรรณี สวนเพลง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ประเสริฐ คันธะมานนท์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
  • จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สมโชค เรืองอิทธินันท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

อินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง, สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง, อินเทอร์เน็ต, นวัตกรรมด้านการศึกษา, ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, Internet Broadcasting, Suan Dusit Internet Braodcasting, SDIB, Internet, Education Innovation, Teacher in Early Childhood Care Center

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นผลลัพธ์ของการวิจัยเรื่อง “อินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้งนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กเล็กทั่วประเทศไทย” (ระยะที่ 1) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ และ 2) ศึกษาความต้องการระบบอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (SDIB) และรูปแบบรายการสำหรับการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีวิธีวิจัยแบบบูรณาการใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Integrated Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการใช้ ICT และศึกษาความต้องการระบบ SDIB โดยใช้แบบสอบถามสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 948 คน (กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้ดูแลเด็กเล็กที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กและเป็นนักศึกษาในโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย) และ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยจัดประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Groups) จำนวน100 คน ผลการศึกษา 1) ข้อมูลจากแบบสอบถามการศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้ ICT ของครูผู้ดูแลเด็กเล็กพบว่า1.1) ระดับปัญหาการใช้ ICT ของครูผู้ดูแลเด็กเล็กภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88) เมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า มีปัญหามากที่สุด คือ ด้าน Hardware ด้าน Network ด้าน Database ด้าน Software และด้านPeople ware เรียงตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.04, 2.98, 2.89, 2.78 และ 2.72) 1.2) ระดับปัญหาการใช้ ICT ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ครูผู้ดูแลเด็กเล็กปฏิบัติงานอยู่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกตามรายได้ พบว่า อันดับที่ 1 คือ งบประมาณที่สนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจาก อบต. ไม่เพียงพอ(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00) อันดับที่ 2 คือ ขาดการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97) และอันดับสุดท้ายคือ ขาดการยอมรับการใช้นวัตกรรมใหม่จากชุมชน(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36) 1.3) ภาพรวมของความต้องการรูปแบบของเนื้อหาสาระที่นำเสนอผ่านระบบ SDIB ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17) เมื่อจำแนกตามรายด้าน ดังนี้ ด้านความต้องการรายการ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27)ด้านการเห็นประโยชน์ของ SDIB (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) ด้านการอบรมเกี่ยวกับ SDIB (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19)ตามลำดับผลจาการ Focus Group พบว่าครูผู้ดูแลเด็กเล็กมีความภาคภูมิใจ และต้องการให้มีการติดตั้งระบบ SDIBในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

คำสำคัญ : อินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง; สวนดุสิตอินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง; อินเทอร์เน็ต; นวัตกรรมด้านการศึกษา; ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

Abstract

This paper was resulted from a research of “Internet Broadcasting: An educational innovation fordeveloping teacher in early childhood care centers all over Thailand”: Phase 1. The objectives of this researchwere: 1) to study the currently ICT using at early childhood centers in Thailand and 2) to study needs ofSuan Dusit Internet Broadcasting (SDIB) systems and contents for supporting of teaching and learning at earlychildhood centers. This research was integrated by quantitative and qualitative research methods.Quantitativeresearch was conducted by using a survey current ICT using at early childhood centers from 948 samples(sample was teacher who worked at early childhood and studied at SuanDusitRajabhat University coordinatedprogram with Department of Local Administration, Ministry of Interior) and qualitative research conducted byfocus group using the 100 participants. The quantitative research found that: 1) the result: 1.1) the current ICTusing of early childhood teachers was at the middle level (\bar{X} = 2.88), problems occurred from hardware,networking, database, and people ware (\bar{X} = 2.04, 2.98, 2.89, 2.78 and 2.72) respectively. 1.2) the problem ofcurrent ICT using was highly scores. The highest score was lacking of ICT budget (\bar{X} = 4.00), secondly waslacking of ICT policy (\bar{X} = 3.97) and the least lacking of innovation diffusion from community (\bar{X} = 3.36), 1.3)the need of content development was (\bar{X} = 4.17) in the aspect of contents (\bar{X} = 4.27), benefit of SDIB (\bar{X} = 4.23),training in SDIB (\bar{X} = 4.19) respectively. The qualitative research found that teachers in early childhood centerswere appreciated of using SDIB and desired to implement this system at the early childhood centers in Thailandin order to apply knowledge for improving quality of work.

Keyword : Internet Broadcasting; Suan Dusit Internet Braodcasting : SDIB, Internet; Education Innovation;Teacher in Early Childhood Care Center

Downloads

How to Cite

สวนเพลง พ., คันธะมานนท์ ป., เทียมบุญประเสริฐ จ., & เรืองอิทธินันท์ ส. (2013). อินเทอร์เน็ตบรอดคาสติ้งนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศไทย: ระยะที่ 1. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 3(1), 87–104. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/5218

Issue

Section

Original Articles