ระบบสนับสนุนการบริการผู้ใช้ไฟฟ้า กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ระบบสนับสนุนการบริการ, ไอทิล, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
ปัญหาพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริการผู้ใช้ไฟฟ้า กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร โดยการนำกรอบการปฏิบัติงาน ITIL version 3 มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีการประเมินประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเมินคุณภาพระบบจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานทั่วไป โดยใช้โปรแกรมภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ในการเขียนโปรแกรม ระบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องในการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า รับแจ้งติดตามผล คำร้องขอใช้บริการ และเรื่องร้องเรียนการบริการ สามารถแสดงรายงานทางสถิติรูปแบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ก่อให้เกิดการจัดการงานบริการลูกค้าได้อย่างมีมาตรฐานจากการวิจัยพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบในการค้นหาและแสดงผลข้อมูลทางพิกัดสถานที่ขอรับบริการมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพโดยรวม F-Measure ร้อยละ 92 และผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญอยู่ใน
ระดับดีโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปอยู่ในระดับดีโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 จากผู้ประเมินทั้ง 2 กลุ่ม สรุปได้ว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
References
ศิริสุดา สุภาวรรณ. (2556). การนำมาตรฐาน ITIL มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา บริษัท ดีคอมพ์กรุ๊ป จำกัด. สารนิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ภัทรพล รสชา. (2556). ระบบบริหารจัดการงานรับแจ้งปัญหาการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. สารนิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ธนาเศรษฐ์ วสุธนเวโรจน์. (2556). การบริหารงานด้านการเบิกเวชภัณฑ์ด้วยกระบวนการ ITIL กรณีศึกษา: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์].[สืบค้นวันที่ 21 มิถุนายน 2557]. จากhttp://www.pea.co.th.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาสตร์ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ
2. ข้อความหรือข้อคิดเห็นในวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฉบับนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา