ระบบเตือนภัยระยะเบรกของยานพาหนะใช้ไลดาร์
คำสำคัญ:
ไลดาร์, อาดูโน่, เซนเซอร์วัดความเร็วรอบบทคัดย่อ
บทความนี้คณะผู้จัดทำได้สร้างระบบเตือนภัยระยะเบรกของยานพาหนะใช้ LiDAR มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแจ้งเตือนระยะเบรกสำหรับลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดบนท้องถนน เทคนิคและเทคโนโลยีที่ใช้ ได้แก่ LiDAR A1M8 ทำหน้าที่เป็นระบบแจ้งเตือนการเข้าใกล้วัตถุที่สามารถบอกระยะทางที่ห่างจากวัตถุได้ ร่วมกับการตรวจจับความเร็วใช้เซนเซอร์วัดความเร็วรอบ จากนั้นจึงทำการทดลองหาระยะการเบรกหากรถมีการเข้าใกล้วัตถุด้านหน้า ระยะการเบรกจะสัมพันธ์กับความเร็วและระยะทางด้วย ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบการแจ้งเดือนความถี่เสียง 3 รูปแบบ การทดสอบด้วยเงื่อนไขการวิ่งที่ทางยาว 2 เมตร โดยมีการจำลองความเร็วที่ 3 ระดับ ได้แก่ ในระดับที่ 1 ความเร็วน้อย 0.5 Km/hour ระยะแจ้งเตือนที่ปลอดภัยจะแจ้งเตือนที่ 0.37 เมตร, ในระดับที่ 2 ความเร็วปานกลาง 1Km/hour ระยะแจ้งเตือนที่ปลอดภัยจะแจ้งเตือนที่ 0.78 เมตร, ในระดับที่ 3 ความเร็วสูง 1.6Km/hour ระยะแจ้งเตือนที่ปลอดภัยจะแจ้งเตือนที่ 1.2 เมตร
References
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO), GLOBAL STATUS REPORT ON ROAD SAFETY 2018, [Online], Available: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/277370/WHO-NMH-NVI-18.20-eng.pdf [Accessed : 30 สิงหาคม 2563]
กรมการขนส่งทางบก, รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจราจรทางบก ปีงบประมาณ 2564 [Online], Available: https://web.dlt.go.th/statistics/ [Accessed : 30 สิงหาคม 2563]
ธีระ ลาภิศชยางกูล, เทคโนโลยีไลดาร์สำหรับสร้างแผนที่, ปีที่ 39 ฉบับที่ 170 มกราคม - กุมภาพันธ, 2554 [Online], Available: http://www.lddservice.org/services/PDF/knowlegemap/LIDAR_Tecnology.pdf [Accessed : 30 สิงหาคม 2563]
Paul McManamon, LIDAR Technology an Systems, SPIE Press [Online], Available: https://spie.org/samples/PM300.pdf [Accessed : 30 สิงหาคม 2563]
ณรงค์ กุหลาบ, การออกแบบทางเรขาคณิตของแนวทาง [Online], Available: https://kb.psu.ac.th/ [Accessed : 29 กันยายน 2563]
กรมการขนส่งทางบก, โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) สำหรับพัฒนาการเดินรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย [Online], Available: https://www.dlt.go.th/minisite/m_upload/m_files/ltsb/file_347bd3b1a9fb763e5f0e41af00d87503.pdf[Accessed : 29 กันยายน 2563]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาสตร์ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ
2. ข้อความหรือข้อคิดเห็นในวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฉบับนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา