การ ศึกษาคุณสมบัติทางกลของผนังดินอัดรับแรง

ผู้แต่ง

  • อนุชา บุญเกิด -
  • วิภาวี สระทองคำ
  • นิสิต ถาวรวงษ์
  • ประยูร ยงค์อำนวย
  • ทิวากร ทำสะอาด

คำสำคัญ:

ผนังดินอัด, โมดูลัสการแตกร้าว, คุณสมบัติทางกล, ดินซีเมนต์, แรงกดอัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการทำผนังดินอัดรับแรงโดยใช้ดินในท้องถิ่น และเพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกลและทางกายภาพของผนังดินอัดรับแรง วิธีการดำเนินงานทดสอบโดยวิธีการจำแนกประเภทของดินลูกรัง ใช้อัตราส่วนผสมจำนวน 9 อัตราส่วน ทดสอบการกำลังรับแรงอัดที่ดีที่สุดเพื่อนำไปทดสอบกำลังรับแรงดัด และการหาค่าการดูดซึมน้ำของดินอัดที่กำลังอัดสูงที่สุด ทดสอบที่อายุบ่ม 7 , 28 และ 56 วัน จากการศึกษาพบว่า ดินลูกรังที่ใช้ในงานวิจัยเป็นดินประเภท SP (Poorly graded sand) เป็นดินกรวดเม็ดขนาดเดียวกัน ทรายปนกรวด มีเม็ดละเอียดปนเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ปริมาณการดูดซึมและความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อระยะเวลามากขึ้น อัตราส่วนผสมที่แสดงค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่สุดคือตัวอย่าง C1W2 มีค่ากำลังรับแรงอัดเท่ากับ 132.93 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และนำอัตราส่วนผสมนี้ไปทดสอบค่าโมดูลัสการแตกร้าวสูงสุด มีค่ามากกว่า 0.275 เมกะปาสคาล ผนังดินอัดรับแรงนี้สามารถรับแรงที่กระทำได้ไม่น้อยกว่า 4,100 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

References

Venkataraman, B. V., R. and Prasanna P. (2009). Role of Clay Content and Moisture on Characteristics of Cement Stabilized Rammed Earth. In Proceedings of the 11th International Conference on Non-conventional Materials and Technologies (NOCMAT2009). 6-9 September 2009. Bath. UK.

สำเนียง องสุพันธ์กุล, วราธร แก้วแสง และสาโรจน์ ดำรงศีล. (2559). พฤติกรรมทางกลของผนังดินซีเมนต์บดอัดภายใต้แรงกดอัดสำหรับบ้านดิน. ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ครั้งที่ 1, โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ นครปฐม, วันที่ 10-11 สิงหาคม 2559

มณเทียร กังศศิเทียม. (2543). กลศาสตร์ของดินด้านวิศวกรรม. ปี 2543, หน้า 50-51.

American Society for testing and Materials. (2001). ASTM C 109M-99: Standard Test Method for Compressive Strength of Hydraulic Cement Mortars (Using 2-in or [50 mm] Cube Specimens)

American Society for Testing and Materials, ASTM C 128-97: Standard Test Method for Specific Gravity and Absorption of Fine Aggregate

American Society of Testing Materials ASTM C78: Standard Test Method for Flexural Strength of Concrete (Using Simple Beam with Third-Point Loading)”

Draper, N.R. and Smith, H. 1966. Applied Regression Analysis. New York: John Wiley & Sons. P.407

ภัทรนันท์ ทักขนนท์. (2556). การก่อสร้างแบบดินอัด: ทางเลือกสำหรับสถาปัตยกรรมยั่งยืน. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วราธร แก้วแสง. (2555). พฤติกรรมทางกลของผนังดินซีเมนต์บดอัดภายใต้แรงดัด. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ครั้งที่ 9, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพฯ.

Moh, Z.C., 1965, “Reaction of Soil Minerals with Cement and Chemicals,” Highway Research Record 86, Washington, 39-61.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

บุญเกิด อ., สระทองคำ ว., ถาวรวงษ์ น., ยงค์อำนวย ป., & ทำสะอาด ท. (2023). การ ศึกษาคุณสมบัติทางกลของผนังดินอัดรับแรง. วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม, 4(2), 22–33. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/stij/article/view/257961