ปริมาณน้ำตาลในเมล็ดและคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ช จากถั่วเขียวพันธุ์ต่างๆ
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2015.19คำสำคัญ:
ความหนืด, เจลาติไนซ์, น้ำตาล, ถั่วเขียว, สตาร์ชบทคัดย่อ
ปริมาณน้ำตาลและคุณสมบัติของแป้ง ในเมล็ดถั่วเขียวสามารถส่งผลต่อคุณภาพ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียว งานวิจัยนี้นำเมล็ดถั่ว เขียวพันธุ์รับรอง 3 พันธุ์ ได้แก่ ชัยนาท 36 ชัยนาท 72 และ ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ที่ผ่าน การปรับปรุงโดยการฉายรังสี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ CNMB 06-01-20-14 และ CNMB 06-02-20- 5 มาวิเคราะห์น้ำตาลและสตาร์ช น้ำตาล วิเคราะห์ด้วยเครื่อง Gas chromatography flame ionization พบว่ามีปริมาณน้ำตาล erythritol, arabinose, ribitol, fructose, galactose, mannitol, sorbitol, glucose, myo-inositol, sucrose, trehalose, raffinose และ stachyose แตกต่างกันในทุกพันธุ์ น้ำตาล ซูโครสในเมล็ดถั่วเขียวมีปริมาณมากที่สุดเมื่อ เทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นๆ โดยถั่วเขียวพันธุ์ ชัยนาท 84-1 มีน้ำตาลซูโครสมากที่สุดปริมาณ 10,522.99 μก./ก. รองลงมาได้แก่พันธุ์ CNMB 06-01-20-14 (7,243.84 μก./ก.) พันธุ์ CNMB 06-02-20-5 (6,654.68 μก./ก.) พันธุ์ชัยนาท 72 (5,830.44 μก./ก.) และพันธุ์ชัยนาท 36 (5074.51 μก./ก.) ตามลำดับ การวิเคราะห์คุณสมบัติทาง เคมีกายภาพพบว่าถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 มี ค่ากำลังการพองตัวมากที่สุด (16.81%) ไม่แตก ต่างทางสถิติกับพันธุ์ CNMB 06-02-20-5 (16.32%) และพันธุ์ CNMB 06-01-20-14 (16.29%) ขณะที่การวิเคราะห์ความหนืด ของสตาร์ชถั่วเขียว พบว่าเวลาและอุณหภูมิใน การเกิดเจลาติไนซ์มีความแตกต่างกันทางสถิติ ความหนืดสูงสุดของสตาร์ชถั่วเขียวสายพันธุ์ CNMB 06-01-20-14 มีค่า 514.27 RVU และ มีค่าการคืนตัวที่ 93.08 RVU สตาร์ชจากถั่ว เขียวที่มีค่าการคืนตัวสูงที่สุด 106.55 RVU คือ พันธุ์ชัยนาท 36 ซึ่งจะบ่งบอกถึงการเกิดรีโทรก ราเดชันและการแยกน้ำออกจากเจล พันธุ์ถั่ว เขียวที่ได้รับการฉายรังสีมีผลทำให้น้ำตาลบาง ชนิดในเมล็ดถั่วเขียวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ พันธุ์ที่ผ่านการรับรองแต่ไม่มีผลต่อคุณสมบัติทาง เคมีกายภาพของสตาร์ชจากถั่วเขียว
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร