นิเวศวิทยาบางประการและการกระจายของโมกราชินี (Wrightia sirikitiae D.J.Middleton & Santisuk) ในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานิเวศวิทยาและการกระจายของโมกราชินี (Wrightia sirikitiae D.J.Middleton & Santisuk) ได้ศึกษาในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก โดยทำการสุ่มวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว ขนาด 20×50 เมตร จำนวน 10 แปลง เพื่อศึกษาสังคมพืช และปัจจัยแวดล้อมด้านนิเวศ เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่การกระจายที่เหมาะสมของโมกราชินี โดยใช้โปรแกรม MaxEnt version 3.3.3 ผลการศึกษาสังคมพืชพบไม้ยืนต้นจำนวนทั้งสิ้น 36 ชนิด 27 สกุล 17 วงศ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener’s เท่ากับ 2.254 โดยขี้เหล็กฤๅษี (Phyllanthus mirabilis Müll. Arg) เป็นชนิดที่มีค่าดัชนีความสำคัญ(Importance Value Index; IVI) มากที่สุด เท่ากับ 82.680 รองลงมาเป็นโมกราชินี มีค่าเท่ากับ 59.469 โมกราชินีที่ปรากฏพบในพื้นที่ ร้อยละ 44.44 เป็นไม้ที่มีการแตกกอ และจากการวิเคราะห์หาพื้นที่การกระจายที่เหมาะสมของโมกราชินี พบมีค่าประสิทธิภาพของแบบจำลองจาก Receiver Operating Characteristic (ROC) พื้นที่การกระจายของโมกราชินีที่ได้จากพื้นที่ใต้กราฟ (Area Under Curve : AUC) เท่ากับ 0.997 ซึ่งมีความน่าเชื่อถือค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ปัจจัยแวดล้อม (percent contribution) ต่อการปรากฏของโมกราชินี นั้น ปัจจัยแวดล้อมที่มีค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ต่อการกระจายของโมกราชินีมากที่สุดคือ ลักษณะทางธรณีวิทยา รองลงมาคือ ความลาดชันของพื้นที่ ชุดดิน ระยะห่างจากแหล่งน้ำ และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Forestry Biological Diversity Secretariate Office. 1999. Forest Complexes in Thailand. Natural Resources Conservation Office, Royal Forest Department, Bangkok.
Forestry Research Center. 1995. Complete Report Basic Information Of The Management Plan for Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary Chachoengsao, Chonburi, Rayong, Chanthaburi. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok.
IUCN. 2001. IUCN Red List Categories and Criteria: Version 3.1. IUCN Species Survival Commission. IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge, UK.
Kutintara, U. 1999. Ecology: Basic for Forestry. Department of Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok.
Marod, D. and U. Kutintara. 2009. Forest Ecology. Aksorn-Siam, Bangkok.
Phillips, S.J. and M. Dudik. 2008. Modeling of species distributions with Maxent: new extensions and comprehensive evaluation. Ecography 31: 161–174.
Pooma, R. 2016. Concise Encyclopedia of Plants in Thailand. The Celebrations on the Auspicious Occasion Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s 60 years Birthday. Forest Herbarium, Forest Research, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok.
Santisuk, T. 2002. Wrightia sirikitiae D.J. Middleton & Santisuk, A New Species of Wrighti (Apocynaceae:Apocynoideae) from Thailand. The Journal of the Royal Institute of Thailand 1: 197-201.
Santisuk, T. 2005. Endemic Plants and Rare Plants of Thailand: Criteria for status analysis and conservation guidelines, pp. 9-20. In Proceedings of Biodiversity in Forests and Wildlife “Progress of Research Results and Activities in 2005”. Royal Forest Department, Bangkok.