1. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่พิมพ์ลงในวารสารวนศาสตร์ไทยเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
        2. บทความใดที่ท่านผู้อ่านตระหนักว่า ได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน ขอความกรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที
        3. บทความทุกบทความ ต้องผ่านการตรวจและประเมินจากกองบรรณาธิการ
        4. บทความทุกบทความ ต้องได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น
        5. บทความจากผู้เขียนภายใน ต้องได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในรูปแบบ Double blinded 
        6. บทความจากผู้เขียนภายนอก ต้องได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกในรูปแบบ Double blinded
        7. บทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอก ต้องได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในรูปแบบ Double blinded 
        8. บทความทุกบทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างกระบวนการประเมินในวารสารอื่น ก่อนที่ผู้เขียนส่งให้กองบรรณาธิการวารสารวนศาสตร์ไทยพิจารณา
        9. บทความต้องไม่มีการคัดลอกมาจากผลงานของบุคคลอื่น
 
จริยธรรมของผู้เขียน

        1. ผู้เขียนต้องไม่นำต้นฉบับที่เคยได้รับการตีพิมพ์รวมถึงต้นฉบับที่ยังอยู่ในกระบวนการประเมินของวารสารไปส่งวารสารอื่น
        2. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานและข้อความของผู้อื่นมาทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นผลงานหรืองานเขียนของตนเอง โดยต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในบทความของตนเอง
        3. ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารวนศาสตร์ไทยกำหนดไว้ โดยเฉพาะรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
        4. ผู้เขียนต้องไม่สร้างข้อมูลหรือปลอมแปลง ตกแต่งข้อมูล และนำมาเขียนในบทความหรือต้นฉบับ
        5. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยในต้นฉบับ (ถ้ามี) และระบุเฉพาะชื่อผู้จัดทำหรือผู้เกี่ยวข้องกับบทความวิจัยนั้นเท่านั้น
        6. ผู้เขียนต้องแจ้งบรรณาธิการทันทีหากพบความผิดพลาดในงานวิจัย ที่ส่งผลต่อบทสรุปงานวิจัยของต้นฉบับที่อยู่ในกระบวนการประเมินหรือบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว

จริยธรรมของผู้ประเมิน

        1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
        2. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความที่กำลังพิจารณา
        3. ผู้ประเมินควรรับพิจารณาเฉพาะบทความที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนต่อบทความที่กำลังพิจารณา

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร

        1. บรรณาธิการต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร การรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ความถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากลในการตีพิมพ์บทความในวารสาร และให้ความสำคัญกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างบรรณาธิการ เจ้าหน้าที่วารสาร ผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
        2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ซึ่งวารสารวนศาสตร์ไทยกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดรายชื่อ (Double blinded)
        3. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยดูผลประเมินจากโปรแกรม Copycatch all in ThaiJo2.0  เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกินตามที่กำหนดไว้ จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที ขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การลงตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
              บทความที่ได้รับการยอมรับ (accepted manuscripts) ทางกองบรรณาธิการจะส่งร่างบทความสำหรับตีพิมพ์ให้กับผู้ประพันธ์เพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง (corrected proof) จากนั้นผู้ประพันธ์จะได้รับแจ้งกำหนดเวลาการตีพิมพ์บทความนั้น
              บทความที่ถูกปฎิเสธ (rejected manuscripts) ทางกองบรรณาธิการจะส่งคืนเอกสารทั้งหมดรวมถึงข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญให้กับผู้ประพันธ์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและส่งผลงานไปตีพิมพ์ยังวารสารอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม
        4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม จรรยาบรรณการทำงานอย่างเคร่งครัด
        5. บรรณาธิการสามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) และมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
        6. หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย
        7. บรรณาธิการต้องไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ไปแล้ว และไม่กลับคำตัดสินในมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น และต้องจัดเตรียมช่องทางการร้องเรียน และมีการตอบกลับคำร้องเรียนอย่างเร็วที่สุด