ผลของการปลูกยางพาราต่อสมบัติอุทกวิทยาดินบางประการ ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพารานั้น ส่งผลกระทบต่ออุทกวิทยาของดินบางประการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการซึมน้ำและการกักเก็บน้ำไว้ในดิน ส่งผลไปถึงผลผลิตน้ำในลุ่มน้ำได้ การวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงผลของการใช้ที่ดินในการปลูกยางพาราต่อสมบัติอุทกวิทยาดินบางประการในลุ่มน้ำย่อยชายฝั่งทะเลตะวันออก ทั้งช่วงน้ำหลากและน้ำแล้ง ปี พ.ศ. 2560 โดยการเก็บตัวอย่างดินแบบไม่ทำลายโครงสร้างเพื่อศึกษาความชื้นดิน ความหนาแน่นรวมของดิน และการนำน้ำของดินเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำ ในขณะที่การซึมน้ำผ่านผิวดินใช้ single ring infiltrometer และทดสอบสถิติโดยใช้ F-test ผลการศึกษาพบว่า เนื้อดินของพื้นที่สวนยางพาราเป็นดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุในดินต่ำ ค่าความชื้นดินเฉลี่ยของดินบนและดินล่างในช่วงน้ำแล้งเท่ากับร้อยละ 7.66 และ 9.21 ในช่วงน้ำหลากเท่ากับร้อยละ 16.62 และ 14.17 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับความชื้นดินของป่าธรรมชาติในพื้นที่ศึกษา อีกทั้งความชื้นดินจะเพิ่มขึ้นในช่วงน้ำหลากเนื่องจากปริมาณฝน สำหรับความหนาแน่นรวมเฉลี่ยของดินบนและดินล่างมีค่าเท่ากับ 1.43 และ 1.56 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยมีค่าใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติแต่ที่ดินล่างจะมีความหนาแน่นมากกว่า ส่วนอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ในช่วงน้ำแล้งและน้ำหลาก มีค่าเท่ากับ 153.44 และ 119.99 มิลลิเมตร/ชั่วโมง ซึ่งมีสมรรถนะการซึมน้ำผ่านผิวดินที่ต่ำกว่าป่าธรรมชาติแต่สูงกว่าสวนผลไม้ในพื้นที่ศึกษา สรุปได้ว่า การปลูกยางพาราในลุ่มน้ำย่อยชายฝั่งทะเลตะวันออกมีผลต่อความหนาแน่นของดินโดยเฉพาะดินล่างและในพื้นที่ยางพาราที่มีอายุน้อยจะมีสมรรถนะการซึมน้ำผ่านผิวดินค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ยางพาราอายุมาก
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Fischer, C., C. Roscher, B. Jensen, N. Eisenhauer, J. Baade, S. Attinger, S. Scheu, W.W. Weisser, J. Schumacher and A. Hildebrandt. 2014. How do earthworms, soil texture and plant composition affect infiltration along an experimental plant diversity gradient in grassland? PLOS ONE 9(6) e98987. doi:10.1371/journal.pone.0098987.
Horton, R.E. 1940. An approach towards physical interpretation of infiltration capacity. Journal of the Soil Science Society of America 5: 399-417.
Klute, A. 1965. Laboratory measurement of hydraulic conductivity of saturated soil, pp. 210-220. In Methods of Soil Analysis Part 1: Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy, Widconsin.
Land Development Department. 2007. Tillage Practice for Soil and Water Conservation. Available Source: http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline /G3/G3_07.pdf., January 3, 2016. (in Thai)
Land Development Department. 2013. Land Use Map. Division of Land Use Policy and Planning, Land Development Department, Bangkok. (in Thai)
Neris, J., C. Jiménez, J. Fuentes, G. Morillas and M. Tejedor. 2012. Vegetation and land-use effects on soil properties and water infiltration of Andisols in Tenerife (Canary Islands, Spain). Catena 98: 55-62.
Office of Agricultural Economics. 2012. Agricultural Statistics of Thailand 2012. Ministry for agricultural and cooperatives, Bangkok. (in Thai)
Quraishi, M.Z. and A.M. Mouazen. 2013. Calibration of an on-line sensor for measurement of topsoil bulk density in all soil textures. Soil and Tillage Research 126: 219-228.
Sarapim, N., S. Thueksathit, S. Pukngam and Y. Kheereemangkla. 2016. Some soil hydrological properties and soil macrofauna in various land use types at Huai Khamin subwatershed, Nakhon Ratchasima province. KKU Research Journal (Graduate Studies) 16(2): 49-62. (in Thai)
Yang, L., W. Wei, L. Chen and B. Mo. 2012. Response of deep soil moisture to land use and afforestation in the semi-arid Loess Plateau, China. Journal of Hydrology 475: 111-122.
Yang, L., W. Wei, W. Chen and J. Wang. 2014. Response of temporal variation of soil moisture to vegetation restoration in semi-arid Loess Plateau, China. Catena 115: 123-133.
Zhou, J., B. Fu, G. Gao, N. Lü, Y. Lü and S. Wang. 2015. Temporal stability of surface soil moisture of different vegetation types in the Loess Plateau of China. Catena 128: 1-15.