การวิเคราะห์โซ่คุณค่าของการเลี้ยงผึ้งแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่า: กรณีศึกษาชุมชนห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต การจัดการ และมูลค่าสุทธิของน้ำผึ้งที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ และวิเคราะห์องค์ประกอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโซ่คุณค่าของผลผลิตน้ำผึ้ง ของชุมชนห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 ครัวเรือน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการศึกษา พบว่า การเลี้ยงผึ้งโพรงประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การทำรังผึ้ง 2) การวางรังในป่า 3) การดูแลรักษา และ 4) การเก็บน้ำผึ้ง ผลผลิตของน้ำผึ้งเฉลี่ย 64.88 กก./ครัวเรือน/ปี รายได้เฉลี่ย 14,968 บาท/ครัวเรือน/ปี ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,418 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยมูลค่าสุทธิของการเลี้ยงผึ้งรวมทั้งชุมชน เท่ากับ 201,833 บาท/ปี สำหรับการวิเคราะห์โซ่คุณค่าของการเลี้ยงผึ้ง พบว่า องค์ประกอบของกิจกรรมตลอดโซ่คุณค่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเลี้ยงผึ้ง 2) การรับซื้อผลผลิต 3) การบรรจุภัณฑ์ และ 4) การขนส่งและการกระจายสินค้า ทั้งนี้ ชุมชนปรับใช้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตน้ำผึ้ง
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Porter, M.E. 1985. Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. Free Press, New York.
Pratama, A.G., S. Supratman and M. Makkarennu. 2019. Examining forest economies: A case study of silk value chain analysis in Wajo District. Forest and Society 3(1): 22-33.
The Center for People and Forests. 2017. Enhancing Livelihoods and Markets. Available Source: https://archive.recoftc.org/basic-page/enhancing-livelihoods-and-markets, September 12, 2018.