การประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการติดตามการเติบโตของต้นไม้ในสวนป่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อติดตามการเติบโตของไม้ในสวนป่าโดยนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เข้ามาบูรณาการร่วมกับเครื่องมือที่ใช้วัดความโตเพื่อทำให้สามารถเก็บข้อมูลและรับส่งข้อมูลได้ตลอดเวลา (real-time) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงานคน หลีกเลี่ยงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นโดยมนุษย์ โดยหลักการทำงานของเครื่องมือต้นแบบคือ การเคลื่อนตัวของเซนเซอร์วัดระยะห่าง (slider resistor sensor) เมื่อต้นไม้มีการเติบโตจะทำให้ชิ้นส่วนของเซนเซอร์เคลื่อนตัว ค่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นค่าการเติบโตของต้นไม้โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติไม่ต้องใช้แรงงานคนเข้าไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ จากการศึกษาในการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของต้นไม้ด้วยเครื่องมือต้นแบบที่พัฒนาขึ้น (automated-dendrometer prototype) เปรียบเทียบกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เทปวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (diameter tape), เทปวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ชนิดโลหะ (diameter steel tape), เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (vernier caliper) และ แบนด์เดนโดรมิเตอร์ (manual band dendrometers) พบว่าข้อมูลความโตของต้นไม้มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 0.012, p-value = 1.000) ดังนั้นข้อมูลการเติบโตของต้นไม้ที่ได้จากเครื่องมือต้นแบบสามารถใช้ทดแทนข้อมูลที่เก็บได้จากอุปกรณ์แบบอื่นได้ ในส่วนของเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพบว่าเครื่องมือที่ใช้เวลาเก็บข้อมูลน้อยที่สุดคือแบนด์เดนโดรมิเตอร์ และเครื่องมือที่ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลมากที่สุดคือเทปวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ทั้งนี้เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ใช้เครื่องมือ ในการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบใน 1 ชุดมีค่าต้นทุนประมาณ 15,782 บาท หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของการสำรวจด้วยวิธีใช้แรงงานคนกับการใช้อุปกรณ์ต้นแบบ ในระยะเวลา 30 ปีพบว่าการสำรวจด้วยวิธีใช้แรงงานคนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 5,250 บาท และเมื่อใช้เครื่องมือต้นแบบจะต้องลงทุนถึง 126,223.60 บาท ถึงแม้ว่าการสำรวจด้วยเครื่องมือต้นแบบยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการสำรวจด้วยวิธีที่ใช้ในปัจจุบัน แต่การนำอุปกรณ์ต้นแบบเข้ามาใช้ในการสำรวจจะเป็นการลดความคลาดเคลื่อนของการเก็บข้อมูลโดยใช้แรงงานคน รวมทั้งยังสามารถติดตามข้อมูลได้ตลอดเวลาเหมาะสำหรับนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและจัดการสวนป่าได้อย่างทันท่วงที แนวทางการวิจัยในอนาคตควรปรับลดต้นทุนการผลิตเพื่อความเป็นไปได้ในการลงทุน หากในอนาคตราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีราคาถูกลงอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสำรวจการเติบโตของต้นไม้
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Anemaet, E.R. and B.A. Middleton. 2013. Dendrometer bands made easy: Using modified cable ties to measure incremental growth of trees. Applications in Plant Sciences 1(9): 1300044.
Bobby, D. 2015. Installation of Traditional Dendrometer Bands. Available Source: https://www.nwrc. usgs.gov/topics/Dendrometer, July 1, 2018.
Forest Industry Organization. n.d. Forest Plantation Survey of the Forest Industry Organization.Forest Industry Organization, Bangkok.
Mahasak, K. n.d. Internet of Things (IoT). Available Source: http://203.155.220.230/bmainfo/ data_DDS/document/internet-of-things.pdf, August 20, 2017.
Mäkinen, H., J.W. Seo, P. Nöjd, U. Schmitt and R. Jalkanen. 2008. Seasonal dynamics of wood formation: a comparison between pinning, microcoring and dendrometer measurements.
European Journal of Forest Research 127(3): 235-245.