ระบบการสัญจรและผลกระทบบางประการภายในอุทยานแห่งชาติภูเรือ

Main Article Content

ดวงอารีย์ แก้วสีทา
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว
วันชัย อรุณประภารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณยานพาหนะ ขีดความสามารถสูงสุดในการรองรับได้ของลานจอดรถ ผลกระทบจากระบบการสัญจรต่อประสบการณ์ของผู้มาเยือน และผลกระทบบางประการต่อดินและพืชพรรณในอุทยานแห่งชาติ ภูเรือโดยเก็บข้อมูลปริมาณยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออกพื้นที่และบริเวณลานจอดรถ วัดขนาดพื้นที่ของลานจอด ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว และใช้วิธีวางแปลงตัวอย่างแบบมีระบบในการศึกษาผลกระทบต่อดินและพืชพรรณ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่าอุทยานแห่งชาติภูเรือมีปริมาณยานพาหนะเข้าไปใช้ประโยชน์สูงสุดในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์เฉลี่ย 1,321 คัน/วัน ลานจอดรถภายในอุทยานแห่งชาติภูเรือสามารถรองรับยานพาหนะได้ 746 คัน/รอบ  หรือ 842 คัน/ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ประโยชน์กับขีดความสามารถในการรองรับได้พบว่าลานจอดรถส่วนใหญ่มีปริมาณการใช้ประโยชน์น้อยกว่าร้อยละ 50 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ยกเว้นลานจอดรถบริเวณลานกางเต็นท์ที่ 2 (ภูสน) ที่มีปริมาณการใช้ประโยชน์มากกว่าร้อยละ 80 และอยู่ในระดับเกินขีดความสามารถสูงสุดในการรองรับได้ สำหรับคุณภาพประสบการณ์ของผู้มาเยือนพบว่าผู้มาเยือนมีความพึงพอใจโดยรวมในการเดินทางอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อคุณภาพอากาศสูงสุดและต่อสภาพผิวถนนต่ำสุด สำหรับผลกระทบต่อดินและพืชพรรณพบว่าบริเวณใกล้ถนนมีค่าความหนาแน่นรวมของดินสูงกว่าในพื้นที่ป่าธรรมชาติเช่นเดียว กับปริมาณของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่บริเวณใกล้ขอบถนนมีปริมาณสูงกว่าในพื้นที่ป่าธรรมชาติ และเส้นทางจากด่านตรวจที่ 2 (ยอดภูเรือ)  ถึงลานกางเต็นท์ที่ 2 (ภูสน)  พบการพังทลายของดินอยู่ในระดับผลกระทบรุนแรง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Auerbach, N.A., M.D. Walker and D.A. Walker. 1997. Effects of roadside disturbance on substrate and vegetation properties in arctic tundra. Ecological Applications 7: 218-235.

Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk density, pp. 363-382. In A. Klute ed. Methods of Soil Analysis, Part 1—Physical and Mineralogical Methods. 2nd ed. Agronomy Monograph 9, American Society of Agronomy—Soil

Science Society of America, Madison.

Charungphan, K., B. Maungsri, N. Kongcheepyun, T. Ruengmak and S. Kongcheepyun. 2015. Species and distribution of invasive alien plants in national park, pp. 170-176. In Proceedings of the 5th Thai forest Ecological Research Network (T-FERN). 16-17 December 2015. Faculty of Forestry, Kasetsart University. Bangkok. (in Thai)

Fogg, G.E. 1997. Park Planning Guidelines. 3rd ed. National Recreation and Park Association, Washington, D.C.

Forman, R.T.T., D. Sperling, J.A. Bissonette, A.P. Clevenger, C.D. Cutshall, V.H. Dale, L. Fahrig, R. France, C.R. Goldman, K. Heanue, J.A. Jones, F.J. Swanson, T. Turrentine and T.C. Winter. 2003. Road Ecology Science and Solutions. Island Press, Washington.

Johnston, F.M. and S.W. Johnston. 2004. Impacts of road disturbance on soil properties and on exotic plant occurrence in subalpine area of the Australian Alps. Arctic, Antarctic, and Alpine Research 36: 201-207.

Lee, M.A., L. Davies and A. Power. 2012. Effects of roads on adjacent plant community composition and ecosystem function: An example from three calcareous ecosystems. Environmental Pollution 163: 273-280

Manning, R., S. Lawson, P. Newman, J. Hallo and C. Monz. 2014. Principles of sustainable transportation in the national park. The George Wright Forum 31: 345-358.

National Park Office. 2008. Handbook 10th Monitoring of Recreation Carrying Capacity in National Park. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai)

National Park Office. 2019. Amount of National Park Revenue, Tourist, and Vehicles. Available Source: http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=11191, February 10, 2019. (in Thai)

Tanakanjana, N., S. Chetamas, D. Emphandhu, N. Pichakum, L. Temtrakul, S. Singhawarawut and S. Ratchakiri. 1998. Handbook for Develop Facilities in Tourism Site to Ecotourism. Forestry Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University. Bangkok. (in Thai)

White, D. 2007. An interpretive study of Yosemite National Park visitors’ perspectives toward alternative transportation in Yosemite Valley. Environmental Management 39: 50-62.

Withayawongruchi, C. and M. Poopath. 2012. Species and Distribution of Invasive Plants in Kaeng Krachan Forest Complex: Case of Prache Rever Wildlife Sanctuary, Ratchaburi Provience. Division of Wild Fauna and Flora

Protection, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (Mimeographed) (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd ed. Harper & Row, New York.