ปัจจัยด้านภูมิอากาศต่อการเติบโตของไม้สนสองใบในป่าดิบเขา อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย

Main Article Content

กนกวรรณ ยอดทอง
ขวัญชัย ดวงสถาพร
กฤษฎาพันธุ์ ผลากิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเติบโตของไม้สนสองใบและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านภูมิอากาศต่อการเติบโตของไม้สนสองใบ เพื่อใช้สร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอดีต โดยดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคทางด้านรุกขกาลวิทยา ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างไม้ทั้ง 38 ตัวอย่าง จากไม้สนสองใบ 19 ต้น มีรูปแบบการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน โดยมีค่าต่ำสุดของระดับวิกฤตของสหสัมพันธ์ในทุกช่วงเวลาเฉลี่ยมากกว่า 0.3281 ไม้สนสองใบที่มีอายุมากสุดสามารถวัดความกว้างวงปีย้อนหลังได้ 129 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2559 ความเพิ่มพูนรายปีด้านรัศมีของไม้สนสองใบสามารถอธิบายได้โดยใช้รูปแบบการเติบโตเอ็กซ์โปเนเชียล โดยมีค่าความกว้างวงปีเฉลี่ยเท่ากับ 0.358 เซนติเมตร เมื่อนำเส้นดัชนีวงปีไม้ที่สร้างขึ้นจากข้อมูลความกว้างวงปีมาหาความสัมพันธ์กับข้อมูลอากาศ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนตุลาคม และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนมีนาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นดัชนีวงปีไม้มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) กับความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ของปีก่อนหน้าจำนวน 1 ปี รวมทั้งมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด และมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนมีนาคมของปีก่อนหน้าจำนวน 1 ปี แบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่สร้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าในรอบ 62 ปีที่ผ่านมา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ของประเทศไทยสูงขึ้นจากในอดีต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 1 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bradley, R.S. 1999. Paleoclimatology: Reconstructing Climates of the Quaternary. 2nd ed. Academic Press, USA.

Cheikeewong, U. 2012. Global Warming. Saengdao Publishing, Bangkok.

Cook, E.R. and K. Peters. 1981. The smoothing spline: A new approach to standardizing forest interior tree-ring width series for dendroclimatic studies. Tree-Ring Bulletin 41: 45-53.

Duangsathaporn, K. and K. Palakit. 2013. Climatic signals derived from the growth variation and cycles of Pinus merkusii in Easternmost Thailand. Thai Journal of Forestry 32: 9-23.

Fritts, H.C. 1976. Tree Rings and Climate. Academic Press, New York.

Holmes, R.L. 1983. Computer-assisted quality control in tree-ring dating and measurement. Tree- Ring Bulletin 43: 69-78.

IPCC. 2007. Climate Change 2007: Synthesis Report. Contribution of Working Group I, II and III to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. IPCC, Geneva.

Limsakul, A., B. Kachenchart, P. Singhruck, S. Saramul, J. Santisirisomboon and S. Apipattanavis. 2019. Updated basis knowledge of climate change summarized from the first part of Thailand’s second assessment report on climate change. Applied Environmental Research 41: 1-12.

Linasmita, V. 2004. Seasonal Variation on Cambial Activity of Pinus kesiya in Doi Khun Tan National Park, Thailand. M.S. Thesis, Mahidol University.

Lumyai, P. 2009. Climatic Effects on Growth of Pinus merkusii Jungh. & de Vriese in Phutoei National Park, Suphan Buri Province. M.S. Thesis, Kasetsart University.

Marod, D. and U. Kuintara. 2009. Forest Ecology. Aksorn Siam Limited Partnership, Bangkok.

National Parks of Thailand. n.d. Phu Kradueng National Park. Available Source: http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=945, January 10, 2018.

Puangchit, L. 2007. Silviculture: Foundation of Forest Planting. Aksorn Siam Limited Partnership, Bangkok.

Pumijumnong, N. 1995. Dendrochronologie mit Teak (Tectona grandis L.) in North-Thailand. Dissertation, University Hamburg.

Pumijumnong, N. and D. Eckstein. 2011. Reconstruction of pre-monsoon weather conditions in northwestern Thailand from the tree-ring widths of Pinus merkusii and Pinus kesiya. Trees 25: 125-132.

Pumijumnong, N. and U. Sass. 1995. Tree-ring research on Tectona grandis in northern Thailand. IAWA Journal 16: 385-392.