รูปแบบการเติบโตของพันธุ์ไม้เด่นบางชนิดในป่าเต็งรังภายใต้ความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ ในบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการเติบโตของพันธุ์ไม้เด่นบางชนิดในป่าเต็งรังภายใต้ความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ ในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเติบโตราย 2 เดือน ของพันธุ์ไม้เด่นในป่าเต็งรัง บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการทำเครื่องหมายบนแคมเบียม (Cambial marking technique) มาศึกษาความเพิ่มพูนของเนื้อไม้ทางเส้นผ่านศูนย์กลาง นำไปสู่การหาความสัมพันธ์กับความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ (Climate variability) ซึ่งสามารถอธิบายผลของความผันแปรสภาพภูมิอากาศต่อการเติบโตของต้นไม้ได้โดยละเอียดในระดับราย 2 เดือน โดยทำการคัดเลือกชนิดไม้หลักเพื่อใช้ในการศึกษาจากตารางชนิดพันธุ์ไม้เด่น โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ (Importance value index, IVI) ที่มีการศึกษาวิจัยในพื้นที่ป่าเต็งรัง บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ซึ่งคัดเลือกจำนวน 2 ชนิด คือ เต็ง (Shorea obtusa Wall. Ex Blume) และรัง (S. siamensis Miq) ทำการคัดเลือกต้นไม้ตัวอย่างในเรือนยอดชั้นบนสุด (Dominance) ชั้นรอง (Co-dominance) และชั้นถูกปกคลุม (Suppress) ชนิดละ 5 ต้นต่อชั้นเรือนยอด รวมต้นไม้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 30 ต้น
ผลการศึกษาพบว่า เต็ง และรัง มีการเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 3.304±0.67 และ 2.210±0.49 มิลลิเมตรต่อปี ตามลำดับ โดยในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีอัตราการเติบโตหยุดนิ่ง และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ส่วนการศึกษาความแตกต่างการเติบโตระหว่างชั้นเรือนยอด พบว่าการเติบโตไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองชนิด ในส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของพันธุ์ไม้ทั้งสองชนิดกับความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ พบว่าปริมาณน้ำฝนรวมรายสองเดือนมีอิทธิพลต่อการเติบโตของต้นเต็ง ในชั้นเรือนยอดถูกปกคลุม เรือนยอดรอง เรือนยอดเด่น และค่าเฉลี่ยการเติบโตรายสองเดือน ร้อยละ 89.6, 93.5, 77.9 และ 88.9 ตามลำดับ ส่วนต้นรังพบว่าปัจจัยด้านภูมิอากาศไม่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของใน 3 ชั้นเรือนยอด อย่างไรก็ตามพบว่าสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนก่อนทำการวัดการเติบโต 2 เดือน (t-1) ค่าอุณหภูมิต่ำสุดรายวันมีอิทธิพลต่อการเติบโตของทั้งสองชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นเต็ง ในชั้นเรือนยอดเด่น ร้อยละ 74.7 รองลงมาได้แก่ ค่าเฉลี่ยการเติบโตรายสองเดือน ต้นเต็งในชั้นเรือนยอดถูกปกคลุม และเรือนยอดรอง ร้อยละ 70.5, 70.0 และ 67.2 ตามลำดับ ส่วนต้นรังพบว่าปริมาณน้ำฝนรวมรายสองเดือนมีอิทธิพลต่อการเติบโตในชั้นเรือนยอดรอง มากที่สุด ร้อยละ 69.3 รองลงมาได้แก่ ค่าเฉลี่ยการเติบโตรายสองเดือน ต้นรังในชั้นเรือนเด่น และเรือนยอดถูกปกคลุม ร้อยละ 68.6, 68, และ 67.2 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Auykim, A., K. Duangsathaporn and P. Prasomsin. 2017. Growth of teak regenerated by coppice and stump planting in Mae Moh Plantation, Lampang province, Thailand. Agriculture and Natural Resources 51(4): 273-277.
Buajan, S., N. Pumijumnong, Q. Li and Y. Liu. 2016. Oxygen isotope of teak tree-rings in northwest Thailand. Journal of Tropical Forest Science 28(4): 396-405.
Buckley, B.M., M. Barbetti, M. Watanasak, R. D’Arrigo, S. Boonchirdchoo, and S. Saratunon. 1995. Dendrochronological investigations in Thailand. IAWA Journal 16: 393–409.
Buckley, B.M., O. Tongjit, R. Poonsri and N. Pumijumnong. 2001. A dendrometer band study of teak (Tectona grandis L.F.) in northern Thailand. Palaeobotanist 50: 83–87.
Buckley, B.M., K. Duangsathaporn, K. Palakit, S. Butler, V. Syhapanya and N. Xaybouangeun. 2007a. Analyses of growth rings of Pinus merkusii from Lao P.D.R. Forest Ecology and Management 253: 120-127.
Buckley, B.M., K. Palakit, K. Duangsathaporn, P. Sanguantham and P. Prasomsin. 2007b. Decadal scale droughts over northwestern Thailand over the past 448 years: Links to the tropical Pacific and Indian Ocean sectors. Climate Dynamic 29: 63–71.
Chalaem, K. 1997. Leaf life Span and Leaf Characteristics of Some Dominant Tree Species in Dry Dipterocarp Forest at Sakaerat. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Clark, D.A., S.G. Piper, C.D. Keeling and D.B. Clark. 2003. Tropical rain forest tree growth and atmospheric carbon dynamics linked to interannual temperature variation during 1984-2000. Proceedings of the National Academy of Sciences 100(10): 5852-5857.
D’Arrigo, R., M. Barbetti, M. Watanasak, B.M. Buckley, P.J. Krusic, S. Boonchirdchoo and S. Sarutanon. 1997. Progress in dendroclimatic studies of Mountain pine in Northern Thailand. IAWA Journal 18(4): 433-444.
Duangsathaporn, K. 2000. Effect of Climate Factors and Thinning on Growth of Pinus kesiya Royle ex Gordon at Bo Luang Plantation, Amphoe Hod Changwat Chiang Mai. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Fritts, H.C. 1976. Tree Ring and Climate. Academic Press, San Francisco.
Laurance, W.F., A.A. Oliveira, S.G. Laurance, R. Condit, H.E.M. Nascimento, A.C. Sanchez-Thorin, T.E. Lovejoy, A. Andrade, S. D’Angelo, J.E. Ribeiro and C.W. Dick. 2004. Pervasive alteration of tree communities in undisturbed Amazonian forests. Nature 428: 171-175.
Lewis, S.U, O.U. Phillips, T.R. Baker, J. Lloyd, Y. Malhi, S. Almeida, N. Higuchi, W.F. Laurance, D.A. Neill, J.N.M Silva, J. Terborgh, A. Torres Lezama, R. Vásquez Martínez, S. Brown, J. Chave, C. Kuebler, P. Núñez Vargas and B. Vinceti. 2004. Concerted changes in tropical forest structure and dynamics: evidence from 50 South American long-term plots. Philosophical Transactions of The Royal Society B Biological Sciences 359: 421-436.
Lumyai P., Duangsathporn K. 2017a. Pine growth variation and climate change: Opportunities for dendroclimatology in central Thailand. Journal of Tropical Forest Research 1: 23-35.
Lumyai P. and K. Duangsathaporn. 2017b. Climate reconstruction on the growth of teak in Umphang Wildlife Sanctuary, Thailand. Environment and Natural Resources Journal 16(1): 21-30.
Montagnini, F. and C.F. Jordan. 2005. Tropical Forest Ecology: The Basis for Conservation and Management. Springer, Berlin.
Muangsong, C., B. Cai, N. Pumijumnong, C. Hu and G. Lei. 2016. Intra-seasonal variability of teak tree-ring cellulose δ18O from northwestern Thailand: A potential proxy of Thailand summer monsoon rainfall. The Holocene 26(9): 1397-1405.
Nobuchi, T., Y. Ogata and S. Siripatanadilok. 1995. Seasonal characteristics of wood formation in Hopea odorata and Shorea henryana. IAWA Journal 16(4): 361-369.
Palakit, K. 2013. Biology and Factors Affecting Tree-Ring Formation of Some Tree Species at Sakaerat Environmental Research Station. Ph.D. Thesis, Kasetsart University.
Palakit, K., K. Duangsathaporn and S. Siripatanadilok. 2015a. Climatic fluctuations trigger false ring occurrence and radial-growth variation in teak (Tectona grandis L.f.). iForest (early view): e1-e8.
Palakit, K., S. Siripattanadilok and K. Duangsathaporn. 2012. False ring occurrences and their identification in teak (Tectona Grandis) in north-eastern Thailand. Journal of Tropical Forest Science 24(3): 387-398.
Palakit, K., K. Duangsathaporn, S. Siripatanadilok and P. Lumyai. 2015b. Effects of climate variability on monthly growth of Aglaia odoratissima and Hydnocarpus ilicifolia at the Sakaerat Environmental Research Station (SERS), northeastern Thailand. Environment and Natural Resources Journal 13: 1-12.
Palakit, K., S. Siripatanadilok, P. Lumyai and K. Duangsathaporn. 2018. Leaf phenology and wood formation of white cedar trees (Melia azedarach L.) and their responses to climate variability. Songklanakarin Journal of Science and Technology 40 (1): 61-68.
Pumijumnong, N. and T. Wanyaphet. 2006. Seasonal cambial activity and tree-ring formation of Pinus merkusii and Pinus kesiya in northern Thailand in dependence on climate. Forest Ecology and Management 226: 279–289.
Pumijumnong, N., D. Eckstein and U. Sass. 1995. Tree-ring research on Tectona grandis in Northern Thailand. IAWA Journal 16: 385–392.
Sampanpanish, P. 2000. Assessment on Biodiversity Surveys of Plant Community at Sakaerat Environmental Station, Nakhon Ratchasima. Environmental Research Institute, Chulalongkorn University. (in Thai)
Sangram, N., K. Duangsathaporn, R. Poolsiri. 2016. Effect of gases and particulate matter from electricity generation process on the radial growth of teak plantations surrounding Mae Moh power plant, Lampang province. Agriculture and Natural Resources 50: 114-119.
Sikareepaisarn, P. 2015. Influence of Climatic Factors on the Growth of Major Tree Species in Mixed Deciduous Forest at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Uthai Thani Province. M.S. thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Wanichakorn, T. 2006. Cambial Activity and Wood Formation of Eucalyptus camaldulensis Dehnh. Grown in Different Sites. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)
Veenin, T., T. Nobuchi, M. Fujita and S. Siripatanadilok. 2006. Seasonal characteristics of wood formation in the elite genetic – based Eucalyptus camaldulensis Dehnh. Agriculture and Natural Resources 40: 83-90.