การประยุกต์แนวคิดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตบุกไข่ แก่ราษฎรบนพื้นที่สูงในท้องที่จังหวัดตาก

Main Article Content

สันติ สุขสอาด
อดิศักดิ์ หน่อแก้ว
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกบุกไข่ของราษฎรบนพื้นที่สูงในท้องที่จังหวัดตาก โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 131 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์กิจกรรมต่าง ๆ ตามทฤษฎีห่วงโซ่คุณค่าและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (net present value: NPV) โดยกำหนดอายุโครงการ 3 ปี ใช้อัตราคิดลดร้อยละ 5


ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 71.76 ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 51.15 และ มีชาติพันธุ์กะเหรี่ยงร้อยละ 93.13 ราษฎรมีประสบการณ์ในการปลูกบุกไข่เฉลี่ย 3.30 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.37 คน มีพื้นที่ปลูกบุกไข่เฉลี่ย 2.58 ไร่ต่อครัวเรือน และร้อยละ 77.10 ทำการปลูกบุกไข่เพื่อเป็นอาชีพเสริม การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าพบว่า ปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการปลูกบุกไข่ ได้แก่ พันธุ์บุก ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า และแรงงาน มีขั้นตอนในการผลิตเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ เตรียมหัวพันธุ์บุกไข่ การปลูก การดูแลหลังการปลูก การเก็บเกี่ยว และการจำหน่าย ทั้งนี้พบว่า มีราษฎร 30 ราย เก็บผลผลิตเฉพาะหัวบุกไข่ใต้ดิน และมีราษฎร 3 ราย ที่เก็บผลผลิตหัวบุกไข่ใต้ดินและหัวบุกไข่บนใบ โดยราษฎรไม่มีการแปรรูปผลผลิตก่อนนำไปจำหน่าย นอกจากนี้ยังพบว่า ราษฎรที่เก็บผลผลิตแล้วร้อยละ 96.97 จำหน่ายผลผลิตหัวบุกไข่ใต้ดินที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.5 กิโลกรัมต่อหัว ขึ้นไปให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคา 5-8 บาทต่อกิโลกรัม มีราษฎรเพียงร้อยละ 3.03 ที่นำผลผลิตไปขายให้แก่สหกรณ์การเกษตรโดยขายได้ในราคา 10 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับหัวบุกไข่ใต้ดินที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 0.5 กิโลกรัมต่อหัว และหัวบุกไข่บนใบ ราษฎรจะเก็บไว้เพาะปลูกในปีต่อไป การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนปลูกบุกไข่พบว่า ราษฎรที่ปลูกบุกไข่ในรูปแบบที่ 6, 5 และ 2 มีค่า NPV เท่ากับ 11,540.32, 3,164.58 และ 1,818.21 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่ง NPV > 0 จึงได้รับกำไร


 

Downloads

Article Details

How to Cite
สุขสอาด ส., หน่อแก้ว อ. . ., & ภัทรธรรม อ. (2019). การประยุกต์แนวคิดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตบุกไข่ แก่ราษฎรบนพื้นที่สูงในท้องที่จังหวัดตาก. วารสารวนศาสตร์ไทย, 38(2), 152–165. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/246246
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ampawan, R., N. Topoonyanont, T. Pookmanee, S. Kitrungruang, P. Pookmanee and S. Panya. 2011. Microtuberization in Amorphophallus muelleri Blume for Mother Plant Using the Temporary Immersion Bioreactor. Research report of Maejo University, Chiangmai. (in Thai)

Jamekorn, S. 1983. Statistical Analysis for Social Science Research. Department of Statistics, Faculty of Science, Kasetsart University, Bankok. (in Thai)

Krejcie, R.V. and E.W., Morgan. 1970. Educational and Psychological Measurement. Texas University, Texas.

Maehongson Highland Agricultural Extension and Development Center. 2016. Amorphophallus spp. (Konjac). Available source: http://www.haec06.doae.go.th, August 30, 2017. (in Thai)

Porter, M.E. 1985. Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. Free Press, New York.

Royal Forest Department. 2018. Forest area of Thailand, separated by province, 2008-2017. Available source: http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=80, October 5, 2018. (in Thai)

Sanguanpong, W., S. Panya, R. Ampawan, P. Nuamjaroen, T. Tungtragoon and T. Sukumonnun. 2005. The study of growth, production yield, and flour quality of Amorphophallus muelleri Blume for developing of commercial potentiality of the plant, pp. 400-404. In 3rd RSPG Researchers Club Conference “Thai Resource: All Things are Intertwined”. Khlong Phai Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiation of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (RSPG) Center, Nakhon Ratchasima. (in Thai)

Suksard, S. 2003. Forest Valuation. Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Torsampandee, P. 2011. An Analysis of Sugar Cane Value: Case Study in Kaeng Sanam Nang District, Nakhon Ratchasima Province, 2009/2010 Crop Year. M.S. Thesis, Kasetsart University. (in Thai)