การเปรียบเทียบการงอกของเมล็ดไม้พันธุ์ต่างถิ่น และไม้ป่า 8 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้นของความเค็มที่ต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งพืชทนเค็มที่มีระบบรากลึกเช่นไม้ยืนต้นสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำเค็มที่อยู่ใต้ดินไม่ให้ขึ้นมาอยู่ที่ระดับพื้นผิวดิน โดยการเจริญเติบโตของพืชเริ่มต้นจากกระบวนการงอก ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ความเค็มสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการงอก และความสามารถในการทนเค็มของเมล็ดไม้ 8 ชนิด ได้แก่ กระถินเทพา กระถินยักษ์ แดง ธนนไชย นนทรีป่า พฤกษ์ พะยูง และยูคาลิปตัส ภายใต้สารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ 0, 4, 8, 16, 25 และ 40 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร โดยเป็นแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มีจำนวน 4 ซ้ำในแต่ละชนิดและระดับของเกลือ เมล็ดจัดว่างอกเมื่อพบรากแทงออกมาให้เห็นด้วยตาเปล่า เก็บข้อมูลการงอกทุกวันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าเมื่อความเค็มเพิ่มขึ้น ร้อยละการงอกรวมของเมล็ดลดลง แต่ระยะเวลาในการงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้น เมล็ดส่วนใหญ่งอกได้ดีที่ระดับความเค็มน้อยกว่า 16 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร เมล็ดที่มีร้อยละการงอกเฉลี่ยรวมทุกความเข้มข้นสูงที่สุด คือ เมล็ดยูคาลิปตัส โดยมีค่าที่อยู่ร้อยละ 73.67 รองลงมาได้แก่ กระถินเทพา ร้อยละ 65.50 และพะยูง ร้อยละ 59.33 เมล็ดส่วนใหญ่ใช้เวลาในการงอกเฉลี่ยประมาณ 3 – 15 วัน แต่เมื่อความเค็มระดับที่ 40 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร เมล็ดใช้ระยะเวลาในการงอกเพิ่ม 2 – 5 เท่าของอัตราการงอกปกติ ค่าความเค็มที่ทำให้ร้อยละการงอกของเมล็ดลดลงร้อยละ 50 (EC50) ซึ่งค่าที่สูงแสดงถึงความทนเค็มของเมล็ดที่สูงตามไปด้วย โดยพบค่าสูงสุดในเมล็ดกระถินยักษ์ (30.86 เดซิเมนต์ต่อเมตร), ธนนไชย (26.37 เดซิเมนต์ต่อเมตร) และพฤกษ์ (25.67 เดซิเมนต์ต่อเมตร)
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
เจษฎา เหลืองแจ่ม และ ลัดดา บุญภักดี. 2530. การเปรียบเทียบความทนเค็มของไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซีสกับไม้โตเร็วบางชนิด. วารสารวนศาสตร์ 6 (3): 347-361.
นิสา เหล็กสูงเนิน. 2549. ลักษณะทางนิเวศวิทยาและการปรับตัวบางประการของพรรณพืชธรรมชาติในดินเค็ม อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาเกษตรศาสตร์.
ธวัชชัย สันติสุข. 2549. ป่าของประเทศไทย. สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
สราวุธ นาแรมงาม. 2539. ไม้นนทรี. ร้อยบทความป่าไม้ 2539: 97-99.
สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
Hlyka, I. and A.D. Robinson. 1954. Storage of Cereal Grains and their Products. pp. 1-45. In Anderson, J.A. and A.W. Alcock, eds. Amer. Ass. Cereal Chem., St Paul, Minnesota.
International Seed Testing Association (ISTA). 2017. International Rules for Seed Testing : Rule2017. International Seed Testing Association, Zurich, Switzerland.
Leksungnoen, N., and K.R.Kjelgren, and C.Beeson, J.R. Richard, G.P.Paul, E. C.Grant and H.Austin. 2014. Salt Tolerance of Three Tree Species Differing in Native Habitats and Leaf Traits. HORTSCIENCE 49(9): 1194-1200.
Leksungnoen, N., S. Uthairatsamee, and C. Na Takuathung. 2016. Germination Test on Native Salt Tolerant Seeds (Buchanania siamensis Miq.) Collected from Natural Saline and Non-Saline Soil. Thai J. For. 35(3): 1-14.
Leksungnoen, N. 2017. Reclaming saline areas in Khorat Basin (Northeast Thailand): Soil properties, species distribution, and germination of potential tolerant species.
Arid land research and management. 31(3): 235-252.
Munns, R. and M. Tester. 2008. Mechanisms of Salinity Tolerance. Annu. Rev. Plant Biol 59: 651–681.
United States Salinity Laboratory Staff. 1954. Agriculture Handbook No. 60: Diagnosis and improvement of saline and alkali soils. United States Department of Agriculture. USA.