มวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้ป่า 4 ชนิด ณ สถานีวนวัฒนวิจัย ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปริญญา ภูศักดิ์สาย
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์
รุ่งเรือง พูลศิริ
ชนิษฐา จันทโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการประมาณมวลชีวภาพ และเปรียบเทียบผลผลิตมวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้ป่า 4 ชนิด ได้แก่ ประดู่ป่า ตะเคียนทอง สะเดา และสะเดาเทียม อายุ 21 ปี ที่ปลูก ณ สถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการวางแปลงขนาด 20 x 20 เมตร จำนวน 4 แปลง ในแต่ละชนิดไม้ ทำการวัดมิติต่างๆ ของต้นไม้ทุกต้นในแปลงตัวอย่าง และตัดต้นไม้ตัวอย่างเพื่อนำไปประมาณหามวลชีวภาพจากสมการ allometric ที่สร้างขึ้นด้วยวิธี stratified clip technique และวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพ (carbon contents) สำหรับประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ


ผลการศึกษา พบว่า สะเดา มีการเติบโตสูงสุด และมีมวลชีวภาพมากที่สุด เท่ากับ 154.76 ตันต่อเฮกตาร์ รองลงมา ได้แก่ ตะเคียนทอง ประดู่ป่า และสะเดาเทียม ซึ่งมีค่า 131.81, 126.41 และ 104.96 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างชนิดไม้ ส่วนปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพ (carbon contents) เฉลี่ย พบว่า ตะเคียนทอง มีค่ามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ประดู่ป่า สะเดา และสะเดาเทียม ซึ่งมีปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพเฉลี่ยร้อยละ 48.79, 46.07, 45.55 และ 45.12 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ระหว่างชนิดไม้ สำหรับปริมาณการกักเก็บคาร์บอน พบว่า มีแนวโน้มเช่นเดียวกับปริมาณมวลชีวภาพ คือ สะเดา มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ตะเคียนทอง ประดู่ป่า และสะเดาเทียม ซึ่งมีค่า 69.28, 64.94, 57.78 และ 46.73 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ทั้งนี้ ความแตกต่างของการกักเก็บคาร์บอนต่อพื้นที่ในสวนป่าแต่ละชนิด เป็นผลมาจากความแตกต่างของมวลชีวภาพของต้นไม้ มากกว่าผลจากปริมาณคาร์บอน (carbon content ) ที่สะสมในมวลชีวภาพ เนื่องจากมีสัดส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความแตกต่างของมวลชีวภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมป่าไม้. 2558. รายงานสถิติป่าไม้. สำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
กรมป่าไม้. 2560. แนวทางปฏิบัติโครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ระยะที่2. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
คณะวนศาสตร์. 2552. โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว. ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้ สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
คณะวนศาสตร์. 2560. รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2561-2579). คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เจษฎา พันสถา. 2544. การหมุนเวียนของธาตุอาหารในสวนป่าไม้สะเดา ที่ปลูกด้วยระดับความหนาแน่นต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตรชัย กาญจนะคช. 2540. ผลของความหนาแน่นของการปลูกป่าต่อการเติบโตและผลผลิตของสวนป่าไม้สะเดา อายุ 12 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชิงชัย วิริยะบัญชา. 2550. การศึกษาการปลูกไม้โตเร็วสำหรับใช้ผลิตไฟฟ้าในชุมชน, น. 164-207. ใน การสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย โรงไฟฟ้าต้นแบบชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชนแบบครบวงจร. วันที่ 19-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, กรุงเทพฯ.
ณรงค์ ชูจิตร และ พิทยา เพชรมาก. 2545. ผลของขนาดถุงกล้าไม้และระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตของไม้สะเดาในการปลูกเป็นสวนป่าเชิงประณีต, น. 105-116. ใน รายงานวนวัฒนวิจัย ประจำปี 2545. สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬ. 2552. การประมาณมวลชีวภาพของพืชและของป่าไม้. วารสารการจัดการป่าไม้. 3 (5) : 63-88.
ทศพร วัชรางกูร, ชิงชัย วิริยะบัญชา และ กันตินันท์ ผิวสอาด. 2548. การประเมินปริมาณการสะสมของคาร์บอนในต้นไม้ ในสวนป่าเพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทย, น. 137-157. ใน รายงานการประชุม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางด้านป่าไม้ “ศักยภาพของป่าไม้ในการสนับสนุนพิธีสารเกียวโต”, 4-5 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
ราตรี บุญรอด, วาทินี สวนผกา และ สมพร แม่ลิ่ม. 2559. ผลของระยะปลูกต่อการเติบโตและมวลชีวภาพของประดู่ป่า อายุ 22 ปี ณ สถานีวนวัฒนวิจัยราชบุรี อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. น. 60-71. ใน รายงานการสัมมนาทางวนวัฒนวิทยาครั้งที่ 10 “ป่าปลูก...นำไทยสู่เศรษฐกิจเชิงนิเวศ”. วันที่ 1-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วาทินี สวนผกา และ สมบูรณ์ บุญยืน. 2559. การเติบโตและมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ 8 ชนิด ในแปลงทดสอบชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, น. 320-326. ใน รายงานการสัมมนาทางวนวัฒนวิทยาครั้งที่ 10 “ป่าปลูก...นำไทยสู่เศรษฐกิจเชิงนิเวศ”. วันที่ 1-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2550. การกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้กับภาวะโลกร้อน. วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ 22 (3): 40-49.
เสริมพงศ์ นวลงาม และ จงรัก วัชรินทร์รัตน์. 2543. บทบาทของการปลูกสร้างสวนป่าต่อการกักเก็บ คาร์บอนที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสร้างสวนป่า จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ 19 (21): 96-103.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2560. รายงานความก้าวหน้ารายสองปี (Second Biennial Update Report) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ
อังสุมา พิณทอง, ธิติ วิสารัตน์, ชุติกานต์ หุตะแสงชัย, พรเทพ เหมือนพงษ์ และ สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2560. การประมาณแก่นและการกักเก็บคาร์บอนของไม้พะยูง ณ สถานีวนวัฒนวิจัยหมูสี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ 36 (2): 46-54.
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. International Panel on Climate Change. IGES, Japan.
Kira, T. and T. Shidei. 1967. Primary Production and turnover to organic matter in different forest ecosystems of the western pacific. Japanese Journal of Ecology. 17: 70-87.