การสลายตัวของซากพืชในสวนไผ่ต่างๆ ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสลายตัวของซากพืชในสวนไผ่ต่างๆ ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาการสลายตัว และการปลดปล่อยสารอาหารของซากพืชในสวนไผ่แต่ละชนิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design; RCBD) ในสวนไผ่ 3 ชนิด ได้แก่ ไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus Munro) ไผ่หยก (Bambusa oldhamii Munro) และไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii Kurz) ทำการทดลองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการย่อยสลายของซากใบในไผ่บงใหญ่มีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือ ไผ่หยก และไผ่หวานอ่างขาง ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 69.41, 60.90 และ 57.21 โดยน้ำหนักต่อปี ตามลำดับ และมีค่าคงที่ของการย่อยสลาย (k) เท่ากับ 1.18, 0.94 และ 0.85 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราการย่อยสลายในซากกาบ พบว่า ไผ่บงใหญ่มีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือ ไผ่หวานอ่างขาง และไผ่หยก ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 75.92, 54.43 และ 45.09 โดยน้ำหนักต่อปี ตามลำดับ และมีค่าคงที่ของการย่อยสลาย (k) เท่ากับ 1.42, 0.79 และ 0.60 ต่อปี ตามลำดับ น้ำหนักแห้งที่สูญหายไปในแต่ละเดือนของซากไผ่ทั้ง 3 ชนิด มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ ความเข้มข้นของไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) ในซากใบและกาบ มีค่าน้อยในช่วงแรกๆ และจะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาของการย่อยสลาย ความเข้มข้นของโพแทสเซียม (K) ในซากใบและกาบ มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาของการย่อยสลาย ความเข้มข้นของแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ในซากใบมีแนวโน้มลดลง ส่วนในซากกาบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการย่อยสลาย
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการ การวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์. 2543. การปลูกไผ่ในพื้นที่โครงการหลวง, น. 1-5. ใน รายงานการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องไผ่ ปี 2543. 2-4 สิงหาคม 2543. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่.
สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และ กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์. 2557. ไผ่ในเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ.
สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ ,กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์ และ บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์. 2550. ความหลากหลายของไผ่บนพื้นที่สูง. วารสารวนศาสตร์ 26 (พิเศษ): 1-11.
สายัณห์ สมฤทธิ์ผล. 2540. การย่อยสลายของซากใบไผ่ และใบรังในป่าผสมผลัดใบและราที่ย่อยสลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Aerts, R. and H. de Caluwe. 1997. Nutritional and plant-mediated controls on leaf litter decomposition of Carex species. Ecol. 78: 244–260.
Anderson, J.M. and M.J. Swift. 1983. Decomposition in tropical forests, pp. 287-309. In S.L. Sutton, T.C. Whitmore and A.C. Chadwick, eds. Tropical Rain Forest: Ecology and Management. Blackwell Scientific Publication, Alden Press, Oxford.
Attiwill, P.M. 1968. The Loss of elements from decomposing litter. Ecol. 49(1): 142-144.
Keeler, B.L., S.E. Hobbie and L.E. Kellogg. 2009. Effects of long-term nitrogen addition on microbial enzyme activity in eight forested and grassland sites: Implications for litter and soil organic matter decomposition. Ecosyst. 12: 1–15.
Lousier, J.D. and D. Parkinson. 1978. Chemical element dynamics in decomposition leaf litter. Can. J. Bot. 56: 2795-2812.
Nath, A.J. and A.K. Das. 2011. Decomposition dynamics of three priority bamboo species of homegardens in Barak Valley, Northeast India. Trop. Ecol. 52 (3): 325-330.
Olson, J.S. 1963. Energy storage and the balance of producers and decomposers in ecological system. Ecol. 44(2): 322-331.
Rejmánková, E. and D. Sirová. 2007. Wetland macrophyte decomposition under different nutrient conditions: Relationships between decomposition rate, enzyme activities and microbial biomass. Soil Biol. Biochem. 39: 526–538.
Tu, L.H., H.L. Hu., T.X. Hu, J. Zhang, L. Liu, R.H. Li, H.Z. Dai and S.H. Luo. 2011. Decomposition of different litter fractions in a subtropical bamboo ecosystem as affected by experimental nitrogen deposition. Pedosphere 21(6): 685-695.
Tu, L.H., H.L. Hu., T.X. Hu, J. Zhang, X.W. Li, L. Liu, Y.L. Xiao, G. Chen and R.H. Li. 2014. Litterfall, litter decomposition, and nutrient dynamics in two subtropical bamboo plantations of China. Pedosphere 24(1): 84-97.
Upadhyaya, K., A. Arunachalam, K. Arunachalam and A.K. Das. 2012. Decomposition and nutrient release patterns of Phyllostachys bambusoides and Arundinaria racemosa, India. J. For. Res. 23(2): 245-252.
Waring, R.H. and W.H. Schlesinger. 1985. Forest Ecosystems: Concept and Management. Academic Press, Inc., Orlando.