การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกของป่าต้นน้ำ ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

Main Article Content

ทิพย์กมล สนสับ
วันชัย อรุณประภารัตน์
นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกของป่าต้นน้ำที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติของปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่บางประการกับการบุกรุกของป่าต้นน้ำ และใช้แบบจำลองโลจิสติก (logistic model) ในการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงต่อการบุกรุกของป่าต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกของป่าต้นน้ำ ได้แก่ ระยะห่างจากที่ดินที่ถือครอง ระยะห่างจากชุมชน ความลาดชัน ทิศด้านลาด ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม ระยะห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ระดับความสูง เเละระยะห่างจากแหล่งน้ำ และพบพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการบุกรุกป่าต้นน้ำในระดับสูงเเละสูงมาก คิดเป็นเนื้อที่รวม 145.97 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 8.58 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โดยกระจายอยู่ในเขตอำเภอบ่อเกลือ อำเภอปัว อำเภอเเม่จริม เเละอำเภอทุ่งช้าง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.28‚ 33.18, 16.04 เเละ 11.46 ตามลำดับ มีผลการตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ความเสี่ยงต่อการบุกรุกของป่าต้นน้ำที่สร้างขึ้นด้วยแบบจำลองโลจิสติก มีความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 80.00 เเละมีค่าพื้นที่ได้กราฟ AUC (Area Under the Curve) เท่ากับ 0.88 (± 0.045) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ไกรรพ พงศ์พิบูลเกียรติ. 2549. การศึกษาการบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำสาขาทะเลสาบสงขลา โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. 2558. แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ. คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, กรุงเทพฯ.
จรัญธร บุญญานุภาพ. 2541. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรัญธร บุญญานุภาพและกัญจน์ชญา เม้าสิ้ว. 2557. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณลุ่มน้ำสาขาสมุนตอนล่าง จังหวัดน่าน. วารสารวนศาสตร์. 33 (2), 131-148.
นิรันดร มรกตเขียว. 2551. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกบริเวณอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรพรรณ เจิดอัศวสิน. 2554. การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดคดีป่าไม้โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมนิมิตร พุกงาม, ประสงค์ สงวนธรรม และสุภาภรณ์ ผ่องศาลา. 2560. การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง. วารสารวนศาสตร์. 36 (1), 123-128.
ศูนย์สารสนเทศ กรมป่าไม้. 2559. ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้. แหล่งที่มา http://www.forestinfo.forest.go.th/Default.aspx, 18 พฤศจิกายน 2559.
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา. 2558. แผนการจัดการเบื้องต้น อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562. สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์, กรุงเทพฯ.
Hosmer, D.W. and S. Lemeshow. 2000. Applied Logistic Regression Second Edition. Amherst Massachusetts. University of Massachusetts, U.S.A.
Hosmer, D.W., S. Lemeshow. and R.X. Sturdivant. 2013. Applied Logistic Regression, Third Edition. John Wiley and sons, lnc, USA.
Nagelkerke, J.D. 1991. A note on a general definition of the coefficient of determination. Biometrika. 78: 691-692.
Witten, Ian H, Eibe F., Mark A. H. and Christopher J. P.. 2011. Data Mining: Practical Machine Learning Tools and Techniques . Third Edition. , Morgan Kaufmann Publishers, Burlington.