การสะสมปริมาณธาตุอาหารพืชบางชนิดในส่วนต่างๆ ของไม้แสมทะเล บริเวณพื้นที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสะสมปริมาณธาตุอาหารพืชบางชนิดในส่วนต่างๆ ของไม้แสมทะเล บริเวณพื้นที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ไม่ได้รับน้ำทิ้งฯ (A) และพื้นที่รับน้ำทิ้ง (B) แต่ละพื้นที่แบ่งเป็น 3 โซนจากชายฝั่งถึงทะเล พบว่า พื้นที่ A และ B มีความหนาแน่นไม้ใหญ่เฉลี่ย 739.4 และ 631.5 ต้น/ไร่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 5.99 และ 7.15 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ย 5.59 และ 6.63 เมตร การสะสมไนโตรเจน (N) และโพแทสเซียม (K) พบมากที่สุดในใบ กิ่ง ราก และลำต้น ตามลำดับ ฟอสฟอรัส (P) พบมากที่สุดในใบ ลำต้น กิ่ง และราก ตามลำดับ ซัลเฟอร์ (S) พบมากที่สุดในใบ ราก กิ่ง และลำต้น ตามลำดับ และคาร์บอน (C) พบมากที่สุดในลำต้น ใบ กิ่ง และราก ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 พื้นที่ พบว่า พื้นที่ B มีการสะสมคาร์บอน (C) มากกว่าพื้นที่ A โดยพบมากที่สุดในลำต้น สำหรับการสะสมไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) พบว่า พื้นที่ B มีการสะสมมากกว่าพื้นที่ A โดยพบมากที่สุดในใบ ส่วนการสะสมซัลเฟอร์ (S) นั้น พื้นที่ B มีการสะสมมากกว่าพื้นที่ A โดยพบมากที่สุดในราก เมื่อเปรียบเทียบแต่ละโซน พบว่า คาร์บอน (C) ซัลเฟอร์ (S) โพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (P) พบมากสุดในโซนที่ 3 สำหรับไนโตรเจน (N) พบมากสุดในโซนที่ 1 จะเห็นได้ว่า ไม้แสมทะเลในพื้นที่ที่รับน้ำทิ้งมีการสะสมธาตุอาหารพืชในส่วนต่างๆ มากกว่าพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำทิ้ง เนื่องจากได้รับปริมาณธาตุอาหารที่สูงกว่าจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
กรมควบคุมมลพิษ. 2559. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2559. บริษัทหัวใหญ่จำกัด, กรุงเทพฯ.
เทียมใจ คมกฤส. 2536. การปรับตัวทางโครงสร้างของไม้เบิกนำในป่าชายเลน. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ผุสดี สุขพิบูลย์. 2558. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งจากการทับถมของตะกอนดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยวรรณ สายมนธ์. 2543. ความสามารถของกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk. และแสมทะเล Avicennia marina (Forsk.) Vierh. ในการบำบัดน้ำเสียชุมชนในดินป่าชายเลนที่มีโครงสร้างต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลิลลี่ กาวีต๊ะ, มาลี ณ นคร, ศรีสม สุวรรณวงศ์ และสุรียา ตันติวิวัฒน์. 2552. สรีรวิทยาของพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วาณิชยา นิลวิเชียร. 2554. การกระจายและความหลากชนิดของไม้ยืนต้นตามระดับความเค็มของดินในป่าชายเลน จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วาทินี สวนผกา, นันทวุฒิ สุนทรวิทย์ และวระวุฒิ ศรีปัญญา. 2558. การเติบโตและมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้เสม็ดขาวในสวนป่าท่ากุ่มโนโบรุ อุเมดะ จังหวัดตราด. วารสารวนศาสตร์ 34 (1): 57-64.
วิจารณ์ มีผล. 2553. การเก็บกักคาร์บอนของป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง. วารสารการจัดการป่าไม้ 4 (7): 29-44.
สนิท อักษรแก้ว. 2541. ป่าชายเลนนิเวศวิทยาและการจัดการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุวจี รักเจริญ, พสุธา สุนทรห้าว, วาทินี สวนผกา และวิจารณ์ มีผล. 2560. มูลค่าป่าชายเลนด้านการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนในเขตกันชนพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง. วารสารวนศาสตร์ 36 (1): 58-67.
อรทัย จิตไทสง. 2555. การศึกษาผลของน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนต่อการเติบโตและชีพลักษณ์ของป่าชายเลนบริเวณโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
American Public Health Association, American Water work Association, and Water Pollution Control Federation. 2017. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater.
American Public Health Association, Washington, DC.
Association of Official Analytical Chemiss (AOAC). 2012. Official Method of Analysis of AOAC Internation (19th ed.). Arlington, Virginia, USA: AOAC International.
Hastuti, E. D., S. Anggoro and R. Pribadi. 2012. The effects of environmental factors on the dynamic growth pattern of mangrove Avicennia marina. Journal of Coastal Development. 16 (1): 57-61.
Kongsangchai, C. 1998. Forest Ecological Study of Mangrove Silviculture. Ph.D. Thesis, Kyoto University.
Naidoo, G. 2008. Differential effects of nitrogen and phosphorus enrichment on growth of dwarf Avicennia marina mangroves. Journal of Aquatic Botany. 2182: 1-7.