มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าที่สถานีวนวัฒนวิจัยหนองคู จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลทั่วไป ปริมาณการใช้ประโยชน์ของป่า มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่า การแปรรูปของป่าเพื่อการค้าของราษฎรที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสถานีวนวัฒนวิจัยหนองคู และศึกษาการตลาดของการค้าของป่าที่ตลาดชุมชนสนสองใบ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ทั้งหมด 3 ชุด เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ราษฎรที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับสถานีวนวัฒนวิจัยหนองคู จำนวน 300 ครัวเรือน และ 2) ผู้ประกอบการค้าของป่าที่ตลาดชุมชนสนสองใบ จำนวน 4 ราย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.00 มีอายุเฉลี่ย 51.67 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 49.33 มีอาชีพหลักเกษตรกรรม ร้อยละ 57.33 มีรายได้เฉลี่ย 139,825.67 บาท/ปี/ครัวเรือน และมีหนี้สิน ร้อยละ 80.33 มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 9.73 ไร่ เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ ร้อยละ 66.00 มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ว่าด้วยการเก็บหาของป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.33 มีการเก็บหาของป่ามาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 11 ประเภท ได้แก่ ไม้ฟืน ไม้ไผ่ หน่อไม้ ผลไม้ป่า พืชผักป่า เห็ด พืชกินหัว แมลงและผลผลิตจากแมลง ชันและยางไม้ สัตว์ขนาดเล็ก และสมุนไพร มีมูลค่าสุทธิทั้งหมดเท่ากับ 4,393,714.09 บาท/ปี เฉลี่ยต่อครัวเรือนละ 14,645.71 บาท/ปี การแปรรูปของป่าเพื่อการค้า พบว่า ราษฎรมีการนำไม้ฟืนที่เก็บหาได้มาแปรรูปเป็นถ่านไม้ เพื่อจำหน่าย ทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน และในส่วนของผู้ประกอบการค้าของป่าที่ตลาดชุมชนสนสองใบส่วนใหญ่ประกอบกิจการคนเดียว ขายตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 17.00 น. ของป่าที่นำมาจำหน่ายมีทั้งหมด 41 รายการ เป็นของป่าที่ออกตามฤดูกาล
คำสำคัญ: มูลค่า ของป่า สถานีวนวัฒนวิจัยหนองคู
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
จส.100. 2560. ทำความรู้จัก! ชุมชนตัวอย่างขับขี่ปลอดภัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. แหล่งที่มา: http://www.js100.com/th/site/post_share/view/38564, 9 เมษายน 2561.
เจนจิรา พวงมาลี และ สันติ สุขสอาด. 2557. มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่า ในป่าชุมชนบ้านเขาเขียว ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 76-84.
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2557. เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ และศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์. 2541. โครงการประเมินคุณค่าทรัพยากรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์: กรณีศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ และศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo.