การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อาภาภรณ์ ทองเสงี่ยม
กาญจน์เขจร ชูชีพ
รัชนี โพธิแท่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรด้านกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกป่าและการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกด้วยเทคนิคการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการศึกษาด้วยวิธีการแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสี พ.ศ. 2545 และ ภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต พ.ศ. 2559 เพื่อจำแนกการใช้ที่ดิน 2 ประเภท คือ พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ไม่ใช่ป่าไม้ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของการแปลตีความและปรับปรุงคุณภาพของผลการแปลความเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2559 และการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกป่าโดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรด้านกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกป่าและจัดทำแผนที่ความเสี่ยงต่อการบุกรุกป่าภายใต้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกพื้นที่ป่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากชุมชน ความลาดชัน และทิศด้านลาด นอกจากนี้ ระดับความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกอยู่ในระดับน้อยและน้อยมาก คิดเป็นพื้นที่รวม 1,098.43 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56.99 ของพื้นที่ศึกษา ในขณะเดียวกัน ระดับความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในระดับสูงและสูงมาก คิดเป็นพื้นที่รวม 164.01 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8.51 ของพื้นที่ศึกษา ผลการวิเคราะห์ความไวของแบบจำลองด้วย ROC Curve พบว่ามีค่าพื้นที่ใต้เส้นกราฟเท่ากับร้อยละ 74.2 ซึ่งถือว่าแบบจำลองนี้ให้ความถูกต้องโดยรวมของการทำนายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกป่าต่อไปได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว และ จรัณธร บุญญานุภาพ. 2557. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุนตอนล่าง จังหวัดน่าน. วารสารวนศาสตร์ 33 (2): 131-148.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ไกรรพ พงศ์พิบูลเกียรติ. 2549. การศึกษาการบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำสาขาทะเลสาบสงขลา โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2558. รายงานการศึกษา เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ของชาติ. 30 หน้า.
ธนวัฒน์ ประไพ. 2551. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่โดยรอบของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมนิมิตร พุกงาม, ประสงค์ สงวนธรรม และ สุภาภรณ์ ผ่องศาลา. 2560. การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง. วารสารวนศาสตร์ 36 (1): 123-128.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. 2559. โครงการบริหารจัดการน้ำ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่แจ่ม. แหล่งที่มา: http://gis.chiangmai.go.th/index.php?name=infobase&themeID=4&pid=25&District_ID=3, 15 ธันวาคม 2559.
สุวดี นำพาเจริญ และ ชลทิชา จำรัสพร. 2557. การวิเคราะห์สมการถดถอย การแปลความหมายค่า R-Square และการประเมินตัวแบบว่าเหมาะสมหรือไม่ (Regression Analysis: How Do I Interpret R-squared and Assess the Goodness-of-Fit?). แปลจาก Jim Frost. Regression Analysis: How Do I Interpret R-squared and Assess the Goodness-of-Fit?. แหล่งที่มา: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3086&read=true&count=true, 20 กุมภาพันธ์ 2561.
Congalton, R.G. and K.Green. 1998. Assessing the accuracy of remotely sensed data:principles and practices. Lewis, New York.
Fawcett, T. 2004. ROC Graphs: Notes and Practical Considerations for Researchers. Available Source: http://binf.gmu.edu/mmasso/ROC101.pdf, February 21, 2018.