การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง CA-Markov บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สุวิมล ต้นศิริ
วันชัย อรุณประภารัตน์
วีระภาส คุณรัตนสิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ใช้ที่ดิน บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และการคาดการณ์แนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต โดยจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปีพ.ศ. 2533, 2544 และ 2555 จากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat-5 ระบบ TM โดยอาศัยหลักการรู้จักวัตถุ (Object Recognition) จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ไม้ยืนต้น สวนผลไม้ พืชไร่ พื้นที่ชุมชน แหล่งน้ำ และ พื้นที่อื่นๆ


ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปีพ.ศ. 2533-2544 พื้นที่สวนผลไม้ ไม้ยืนต้น พื้นที่ชุมชน แหล่งน้ำ และพื้นที่อื่นๆ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 36.85  17.03  0.52  0.23 และ 0.7 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 4.95  2.29  0.07  0.03 และ 0.09 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนพืชไร่และพื้นที่ป่าไม้ มีพื้นที่ลดลง 49.00 และ 6.34 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 6.58 และ 0.85 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ ในช่วงปีนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นพืชไร่ สวนผลไม้ และไม้ยืนต้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปีพ.ศ. 2544-2555 พบว่า พื้นที่สวนผลไม้และไม้ยืนต้นมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 18.64 และ 5.58 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 2.50 และ 0.75 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนพืชไร่และพื้นที่ป่าไม้ มีพื้นที่ลดลง 22.45 และ 0.82 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.02 และ 0.11 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ โดยพื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น และพื้นที่อื่นๆ และผลจากการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในปีพ.ศ. 2566 ด้วยแบบจำลอง CA-Markov โดยใช้ฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปีพ.ศ. 2544-2555 พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัยสั้น

References

กรมป่าไม้. 2545. โครงการศึกษาการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
จรัณธร บุญญานุภาพ. 2546. การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล. ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สุพรรณี ทักษิณสัมพันธ์. 2546. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณลุ่มน้ำโดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมนิมิตร พุกงาม, ประสงค์ สงวนธรรม และ สุภาภรณ์ ผ่องศาลา. 2560. การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งขวา จังหวัดลำปาง. วารสารวนศาสตร์ 36 (1):123-128
Congalton, R.G., 1991. A review of assessing the accuracy of classifications of remotely sensed data. Remote Sensing of the Environment, 37 (1), 35-46.
Thomas Lillesand, Ralph W. Kiefer and Jonathan Chipman. 2015. Remote Sensing and Image Interpretation, 7th Edition. John Wiley & Sons, New York.