การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ การป่าไม้ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ด้วยข้อมูลภาพดาวเทียมไทยโชต ปีพ.ศ. 2556 โดยจำแนกออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ไม้ยืนต้น สวนผลไม้ พืชไร่ นาข้าว พื้นที่ชุมชน แหล่งน้ำ และพื้นที่อื่นๆ ตามลำดับ และประเมินความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามหลักเกณฑ์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
ผลการจำแนกสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2556 ซึ่งในพื้นที่ศึกษาครอบคลุมด้วยพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด รองลงมาเป็นพืชไร่ และพื้นที่อื่นๆ ตามลำดับ โดยมีเนื้อที่ 567.87 ตร.กม (53.36%) 287.81 ตร.กม (27.04%) และ 52.30 ตร.กม (4.91%) และผลการประเมินความถูกต้องโดยรวมของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีเท่ากับร้อยละ 85 และค่าสถิติแคปป้า เท่ากับ 0.8242 การประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถจำแนกระดับความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ 4 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก 120.29 ตร.กม (11.30%) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง 220.73 ตร.กม. (20.74%) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย 304.59 ตร.กม. (28.62%) และพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมต่อพื้นที่ป่าไม้เท่านั้น 418.58 ตร.กม. (39.33%)
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
กองวางแผนการใช้ที่ดิน. 2552. คู่มือการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กองสำรวจและจำแนกดิน. 2541. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของไทย เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 422. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว และ จรัณธร บุญญานุภาพ. 2557. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุนตอนล่าง จังหวัดน่าน. วารสารวนศาสตร์ 33 (2): 131-148.
แก้ว นวลฉวี และ สุภัค วงษ์ปาน. 2536. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, น. 253-270. ใน การวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
สุระ พัฒนเกียรติ. 2534. หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
อดิศักดิ์ เพชรจรัส. 2544. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO),1983. Guidelines: Land Evaluation for Rainfed Agriculture, FAO soils bulletin no. 52, Rome.
Lillesand, T.M., R.W. Kiefer and J.W. Chipman. 2008. Remote Sensing and Image Interpretation. Sixth Edition. John Wiley & Sons. New York.