ลักษณะทางกายภาพของเมล็ด ประเภทการเก็บรักษาเมล็ด และการเพาะขยายพันธุ์ไม้พื้นเมืองบริเวณป่าริมคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ปัญญา ไวยบุญญา
บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี
ประภัสสร ยอดสง่า
ปนัดดา ลาภเกิน

บทคัดย่อ

ป่าริมน้ำหรือป่าริมคลองมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง การศึกษานิเวศวิทยาของพรรณพืชริมน้ำจึงมีความสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการฟื้นฟู การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของเมล็ด ประเภทการเก็บรักษาเมล็ด ตลอดจนทดสอบวัสดุปลูกเพื่อการผลิตกล้าไม้ริมน้ำบริเวณป่าริมคลองพระปรง จังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักแห้งของเมล็ดอะเคเชีย (Acacia sp.) และเครือปลอก (Ventilago harmandiana) น้ำหนักเบาที่สุดเพียง 0.02 กรัม และกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus) หนักที่สุดเท่ากับ 1.80 กรัม เมล็ดอะเคเชีย (Acacia sp.) มีความชื้นน้อยที่สุดร้อยละ 5.9 โดยที่เมล็ดถอบแถบ (Connarus cochinchinensis) มีความชื้นสูงที่สุดร้อยละ 45.6 การแบ่งประเภทเมล็ดตามการเก็บรักษา พบว่าอะเคเชีย กระเบาใหญ่ และเครือปลอกจัดเป็นเมล็ดประเภทออร์โธดอกซ์ (orthodox) ถอบแถบจัดเป็นเมล็ดประเภทอินเทอร์มิเดียท (intermediate) และ เถาวัลย์เปรียง (Derris scandens) เลือดแรด (Knema globularia) ข่อย (Streblus asper) และชุมแสง (Xanthophyllum lanceatum) จัดเป็นเมล็ดประเภทรีแคลซิแทรนท์ (recalcitrant) ผลของการเพาะกล้าไม้ชุมแสงและกระเบาใหญ่ในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมต่างๆ กัน พบว่า วัสดุปลูกดินป่าผสมกากอ้อยเหมาะสำหรับการเพาะขยายพันธุ์กล้ากระเบาใหญ่ โดยมีอัตราการเติบโตทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก (root collar diameter growth) ความสูง (height) และมวลชีวภาพ (biomass) สูงกว่าวัสดุปลูกอื่นๆ ในขณะที่กล้าชุมแสงที่เจริญในดินป่าผสมกากอ้อยมีการเติบโตและอัตราการรอดตายต่ำกว่าวัสดุปลูกอื่นๆ สำหรับวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของแกลบหรือขุยมะพร้าวเหมาะสำหรับใช้เพาะขยายพันธุ์กล้าชุมแสงเพราะมีการเติบโตที่ดีและอัตราการรอดตายสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2559. ข้อมูลสภาพภูมิอากาศจังหวัดสระแก้วระหว่างปี พ.ศ. 2549-2559 สถานีอุตุนิยมวิทยาอรัญประเทศ. กรมอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.
บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี, วันเพ็ญ ก้านอินทร์, ปนัดดา ลาภเกิน และ ศศิธร โคสุวรรณ. 2558. ความหลากชนิดของพรรณไม้และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าริมคลองพระปรง จังหวัดสระแก้ว, น.160-168. ใน รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย “องค์ความรู้ทางนิเวศวิทยาเพื่อการจัดการที่ยั่งยืน” คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี, หทัยรัตน์ บุญศรี และ ปนัดดา ลาภเกิน. 2560. การใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าริมคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 9 (18): 84-95.
ปัญญา ไวยบุญญา, จตุภูมิ มีเสนา, ปนัดดา ลาภเกิน, ประภัสสร ยอดสง่า และ บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี. 2559. ความหลากหลายของนกในช่วงฤดูหนาวบริเวณป่าริมน้ำตามแนวคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว, น 214-220. ใน รายงานการประชุมวิชาการ “การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 3, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, น่าน.
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า. 2549. ปลูกป่าให้เป็น: แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Baskin, C.C. and J.M. Baskin. 2014. Seeds: Ecology, Biogeography, and Evolution of Dormancy and Germination, Academic/Elsevier., San Diego, CA, USA
Broadmeadow, S. and T.R. Nisbet. 2004. The effects of riparian forest management on the freshwater environment: a literature review of best management practice. Hydrology and Earth System Sciences Discussions 8 (3): 286-305.
Daws, M.I., N.C. Garwood and H.W. Pritchard. 2006. Prediction of desiccation sensitivity in seeds of woody species: a probabilistic model based on two seed traits and 104 species. Annals of Botany 97 (4): 667-674.
Doust S.J., P.D. Erskine and D. Lamb. 2006. Direct seeding to restore rainforest species: Microsite effects on the early establishment and growth of rainforest tree seedlings on degraded land in the wet tropics of Australia. Forest Ecology and Management 234: 333–343.
Elliott, S.D., D. Blakesley and K. Hardwick. 2013. Restoring tropical forest: a practical guide. Royal Botanic Garden, Kew.
Ellis, R.H., T. Mai-Hong, T.D. Hong, T.T. Tan, N.D. Xuan-Chuong, L.Q. Hung and V.T. Le-Tam. 2007. Comparative analysis by protocol and key of seed storage behaviour of sixty Vietnamese tree species. Seed Science and Technology 35 (2): 460-476.
Hong, T.D. and R.H. Ellis. 1996. A Protocol to determine seed storage behaviour. IPGRI Technical Bulletin No.1. (J.M.M. Engels and J.Toll, vol.eds) International Plant Genetic Resources Institute, Rome, Italy.
Jayasuriya, K.G., A.S. Wijetunga, J.M. Baskin and C.C. Baskin. 2013. Seed dormancy and storage behaviour in tropical Fabaceae: a study of 100 species from Sri Lanka. Seed Science Research 23 (4): 257-269.
Moungsrimuangdee, B. and T. Nawajongpan. 2016. A Survey of riparian species in the Bodhivijjalaya College’s Forest, Srinakharinwirot University, Sa Kaeo. Thai Journal of Forestry 35 (3): 15 – 29.
Moungsrimuangdee, B., P. Waiboonya, P. Larpkern, P. Yodsa-nga and M. Saeyang. 2017. Reproductive Phenology and Growth of Riparian Species along Phra Prong River, Sa Kaeo Province, Eastern Thailand. Journal of Landscape Ecology 10 (2): 5-18.
Saint-Laurent, D., H. Marlies, J. St-Laurent and B. Francis. 2010. Comparative assessment of soil contamination by Lead and heavy metals in riparian and agricultural areas (Southern Québec, Canada). International Journal of Environmental Research and Public Health 7: 3100-3114.
Schmidt, L. 2007. Tropical Forest Seed. Springer-Verlag, Berlin Heidelberg.
Tunjai, P. and S. Elliott. 2012. Effects of seed traits on the success of direct seeding for restoring southern Thailand’s lowland evergreen forest ecosystem. New Forests 43: 319-333.