โครงสร้างและองค์ประกอบพรรณพืช ในพื้นที่ป่าเขาหินปูน ภายหลังการทำเหมืองหินปูน จังหวัดแพร่

Main Article Content

อลญา ชิวเชนโก้
แหลมไทย อาษานอก
ดอกรัก มารอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของสังคมป่าเขาหินปูน รวมถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของพรรณพืช ในบริเวณพื้นที่จังหวัดแพร่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยเลือกพื้นที่ตัวแทนสังคมพืชป่าเขาหินปูนที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ ป่าเขาหินปูน ป่าเบญจพรรณผสมหินปูน และเหมืองร้างเขาหินปูน ในแต่ละพื้นที่ทำการสุ่มวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 เมตร x 10 เมตร ตามระดับความสูงของพื้นที่ อย่างน้อย 25 แปลงตัวอย่าง โดยทำการเก็บข้อมูลไม้ต้นและปัจจัยแวดล้อมในแปลงขนาด 10 เมตร x 10 เมตร และทำการเก็บข้อมูล ลูกไม้/กล้าไม้ในแปลงขนาด 4 เมตร x 4 เมตร ทำการจัดลำดับสังคมพืช (ordination) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสังคมพืชกับปัจจัยแวดล้อม


ผลการศึกษาองค์ประกอบของพรรณพืช โดยพบพรรณพืชทั้งหมด 68 ชนิด 52 สกุล 31 วงศ์  ชนิดไม้ต้นสำคัญที่พบในพื้นที่เขาหินปูน ได้แก่ ชันรูจี (Parishia insignis) มะยมผา (Meliosma pinnata) และ ไทรยางเหลือง (Ficus macleilandii) โดยในพื้นที่ป่าเบญจพรรณผสมหินปูน พบไม้ต้น มีความหนาแน่น ความเด่นด้านพื้นที่หน้าตัด และความหลากชนิด มากที่สุดเท่ากับ 444.44  ต้นต่อเฮกตาร์ 9.05  ตารางเมตรต่อเฮกตาร์ และ 3.17 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม พบว่าไม้พุ่มในป่าเขาหินปูน มีความหนาแน่น มากที่สุด เท่ากับ 578.38 ต้นต่อเฮกตาร์ ส่วน ปัจจัยกำหนดการปรากฏของหมู่ไม้ พบว่าหมู่ไม้ป่าเขาหินปูน ถูกกำหนดด้วยความชื้นดิน และ ปริมาณหินโผล่ ส่วนหมู่ไม้เหมืองร้าง มีความหนาแน่นดินเป็นปัจจัยสำคัญ ในขณะที่หมู่ไม้ป่าเบญจพรรณผสมหินปูน พบว่าทั้งสามปัจจัยที่มีอิทธิพลค่อนข้างน้อยต่อการปรากฏของหมู่ไม้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงชี้ให้เห็นว่าการทำเหมืองหินปูน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมพืชและปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะความหนาแน่นของดิน ทำให้การฟื้นฟูตามธรรมชาติของพรรณไม้บนเขาหินปูนที่ผ่านการทำเหมือง เกิดขึ้นได้ยาก ผันแปรไปตามชนิดพันธุ์พืชที่สามารถตั้งตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จรัญ มากน้อย และชาญวิทย์ แสงสร้อย. 2555. โครงการการศึกษาความหลากหลายของพืชดอก บริเวณเขาหินปูน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก.สํานักวิจัยและพัฒนา องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จรัญ มากน้อย และปรัชญา ศรีสง่า. 2553. พันธุ์ไม้เขาหินปูนภาคกลาง. องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เชียงใหม่.
เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
ชรัตน์ รุ่งเรืองศิลป์. 2526. สมบัติของดินภายหลังการทำเหมืองแร่ดีบุก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไปรยณัฐ น้อยทับทิม, สคาร ทีจันทึก และกอบศักดิ์ วันธงไชย. 2555. ลักษณะโครงสร้างของประชากรแมลงในพื้นที่ฟื้นฟูบูรณะผลผลิตใหม่ ณ พื้นที่เหมืองหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารวนศาสตร์ 31 (1): 1-9
มานพ ผู้พัฒน์. 2557. พันธุ์ไม้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
วีระศักดิ์ เนียมรัตน์ และดอกรัก มารอด. 2548. การตั้งตัวของกล้าไม้ถาวรในสวนป่ายูคาลิปตัสและพื้นที่เปิดโล่ง. วารสารวนศาสตร์ 24 (5): 35-47
โสมนัสสา แสงฤทธิ์, วรดลต์ แจ่มจำรูญ และนันทวรรณ สุปันตี. 2556. พรรณไม้เขาหินปูน: สถานภาพและปัจจัยคุกคาม. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
แหลมไทย อาษานอก, วรวุฒิ งามพิบูลเวท และอลญา ชิวเชนโก้. 2558. การศึกษาเบื้องต้นของโครงสร้างสังคมพืช และปัจจัยที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ยืนต้นในป่าเขาหินปูนเขตร้อน บริเวณอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. น. 19-27. ใน รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 4. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
Asanok, L., D. Marod, P. Duengkae, U. Pranmongkol, H. Kurokawa, M. Aiba, M. Katabuchi and T. Nakashizuka. 2013. Relationships between functional traits and the ability of forest tree species to reestablish in secondary forest and enrichment plantations in the uplands of northern Thailand. Forest Ecology and Management 296: 9-23.
Asanok, L. and D. Marod. 2016. Environmental factors influencing tree species regeneration in different forest stands growing on a limestone hill in Phrae Province, northern Thailand. Journal of Forest and Environmental Science 32 (3): 237-252.
Kitzberger, T. 2013. Impact of extreme and infrequentevents on terrestrial ecosystems and biodiversity, pp. 209–223 In S. A. Levin., eds. Encyclopedia of biodiversity. Waltham, Massachusetts, USA.
McCune, B. and M.J. Mefford. 2006. PC-ORD Multivariate Analysis of Ecological Data: Version 5.10 for Windows. Gleneden Beach, Oregon, USA.
Shannon, C.E. and W. Weaver. 1949. The Mathematical Theory of Communication. University of Illinois Press, Urbana.
Whittaker, R.H. 1970. Communities and Ecosystems. Macmillan Co., Collier-Macmillan Ltd., London