การแปรผันระหว่างสายต้นของการเติบโตและลักษณะเชิงหน้าที่บางประการของใบกระถินลูกผสม ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระถินลูกผสมเป็นไม้เขตร้อนที่นิยมปลูกเป็นสวนป่าในเวียดนามและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปลงทดลองถูกสร้างขึ้นที่แปลงทดลองบ่อ L6 และแปลงทดลองล้องอ้อ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสายต้นลูกผสมระหว่างกระถินเทพาและกระถินณรงค์ (A. mangium x A. auriculiformis) จำนวน 8 สายต้น และลูกผสมกระถินณรงค์ (A. auriculiformis) จำนวน 2 สายต้น เพื่อศึกษาการแปรผันของการเติบโตและลักษณะเชิงหน้าที่บางประการของใบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์มี 6 ซ้ำ เก็บข้อมูลการเติบโตทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี และเก็บข้อมูลลักษณะเชิงหน้าที่ของใบ (พื้นที่ผิวใบเฉพาะ ปริมาณคลอโรฟิลล์ และสารอาหารในใบ) เมื่อต้นไม้มีอายุ 1 ปี
ผลการวิจัยพบว่า ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และลักษณะเชิงหน้าที่ของใบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสายต้น สายต้นกระถินลูกผสมระหว่างกระถินเทพาและกระถินณรงค์มีการเติบโตดีกว่าลูกผสมกระถินณรงค์ โดยสายต้น A1, A4, A6 และ A7 เป็นสายต้นที่โดดเด่นในแปลงทดลองบ่อ L6 และสายต้น A1 ถึง A7 เติบโตได้ดีในแปลงทดลองล้องอ้อ สายต้นลูกผสมระหว่างกระถินเทพาและกระถินณรงค์มีค่าพื้นที่ผิวใบเฉพาะสูงกว่าสายต้นลูกผสมกระถินณรงค์ ขณะที่สายต้นลูกผสมกระถินณรงค์มีคลอโรฟิลล์และสารอาหารในใบมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการเติบโตระหว่างพื้นที่พบว่า สายต้นที่ปลูกในแปลงทดลองบ่อ L6 มีการเติบโตที่ดีกว่าแปลงทดลองล้องอ้อ เมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และสายต้นพบว่ามีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและค่าพื้นที่ผิวใบเฉพาะเท่านั้น งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการแปรผันระหว่างสายต้น และการตอบสนองต่อพื้นที่ที่ต่างกันของแต่ละสายต้น ดังนั้นการคัดเลือกสายต้นสำหรับการปลูกสวนป่าจำเป็นต้องคำนึงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วย
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
จิรนิติ เชิงสะอาด, รุ่งเรือง พูลศิริ และสาพิศ ดิลกสัมพัทธ์. 2559. การเติบโต มวลชีวภาพ และปริมาณสารอาหารของสายต้นไม้อะเคเซียลูกผสมในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวนศาสตร์ 35 (2): 54-65.
ปริชาติ โรจนเมธากุล. 2541. ความผันแปรของการเติบโต ปริมาณไนโตรเจนในใบ และ Stomatal Conductance ของไม้กระถินณรงค์จากต่างถิ่นกำเนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สาพิศ ร้อยอำแพง. 2545. การเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของลูกผสมไม้กระถินณรงค์และกระถินเทพา, น. 370-382 ใน รายงานสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 7 “วนวัฒนวิทยาเพื่อพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจ”. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง. 2545. การปรับปรุงพันธุ์ไม้อะเคเซียเพื่อการปลูกป่าเศรษฐกิจ, น.1-10 ใน รายงานสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 7 “วนวัฒนวิทยาเพื่อพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจ”. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Diloksumpun, S., J. Wongprom and S. A-kakhun. 2016. Growth and phyllode functional trais of acacia hybrid clones planted on a post mining rehabilitation site in southern Thailand, pp. 98-112. In J. C. Fernandez, D. Wulandari and E. K. Damayanti, eds. Proceedings of 2nd International Conference on Tropical Biology ‘Ecological Restoration in Southeast Asia; Challenges, Gains and Future Directions’. Seameo Regional Centre for Tropical Biology, Bogor.
Kha, L.D. 1995. Studies on the Use of Natural Hybrids between A. mangium and A. auriculiformis in Vietnam. Agriculture Publishing House, Hanoi.
Megel, K. and E.A. Kirkby. 2001. Principles of Plant Nutrition. 5th ed. Kluwer Academic Publishers, Netherlands.
Poorter, H. and R. de Jong. 1999. A Comparison of specific leaf area, chemical composition and leaf construction costs of field plants from 15 habitats differing in productivity. New Phytologist 143: 163-176.
Prachaiyo, B. and T. Tsutsumi. 1989. On the nutrient content of trees of dry evergreen forest in northeastern Thailand. Thai Journal of Forestry 8: 227-236.
Royampaeng, S. 2001. Physiology of Intraspecific and Interspecific Hybrids of Acacia auriculiformis A. Cunn.E Benth. Ph.D. Thesis, Northern Territory University.
Schneider, C.A., W.S. Rasband and K.W. Eliceiri. 2012. NIH Image to ImageJ: 25 years of image analysis. Nature Methods 9: 671–675.
Tisdale, S.L. and W.L. Nelson. 1975. Soil Fertility and Fertilizers. Macmillan Publishing Co., Inc., New York.
Wu, T.G., M.K. Yu, G.G. Wang, Y. Dong and X.R. Cheng. 2012. Leaf nitrogen and phosphorus stoichiometry across forty-two woody species in southeast China. Biochemical Systematics and Ecology 44: 255-263.