ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไฟป่า และความถี่ของไฟป่า ต่อการเกิดเห็ดเผาะในป่าเต็งรัง ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไฟป่า และความถี่ของไฟป่าต่อการเกิดเห็ดเผาะในป่าเต็งรัง ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่ และทำการทดลองในแปลงทดลองถาวรขนาด 100x100 ตารางเมตร (1 เฮกตาร์) จำนวน 10 แปลง ที่มีการควบคุมป้องกันไฟและเผาที่ความถี่แตกต่างกันในช่วง พ.ศ. 2551-2559 สำรวจการเกิดเห็ดเผาะช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558-2559 โดยทำการแบ่งแปลงตัวอย่างแต่ละแปลงออกเป็นแปลงย่อยขนาด 10x10 ตารางเมตร จำนวน 100 แปลงย่อย เมื่อพบเห็ดเผาะในแต่ละวัน จะทำการวัดพิกัดและชั่งน้ำหนักเห็ดในแปลงย่อย แล้วนำไปหาน้ำหนักรวมของดอกเห็ดในแปลงขนาด 100x100 ตารางเมตรทุกแปลง จากนั้นสุ่มตัวอย่างเห็ดประมาณ 100 กรัม จำนวน 4 ซ้ำ จากทุกแปลง ชั่งน้ำหนักจริง นับจำนวนดอกเห็ด และวัดขนาดดอกเห็ดเพื่อหาค่าเฉลี่ยของขนาดและน้ำหนักต่อดอก และคำนวณหาจำนวนดอกเห็ดทั้งหมด และหาความสัมพันธ์ของน้ำหนักเห็ดเผาะกับความถี่ของไฟป่าที่แตกต่างกันโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการเกิดเห็ดเผาะมากกว่าไฟป่า ซึ่งใน พ.ศ. 2558 มีปรากฏการณ์เอลนีโญ ไม่พบการเกิดของเห็ดเผาะ แต่ใน พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีที่มีสภาพอากาศปกติจะพบว่ามีการเกิดของเห็ดเผาะในแปลงเผาทุกแปลง โดยแปลงทดลองที่มีการเผาทุก 2 ปี ให้ผลผลิตเห็ดเผาะมากที่สุด คือ 5,719 กรัม/เฮกตาร์ ตามมาด้วยแปลงเผาปีเว้นปี แปลงเผาทุก 6 ปี และเผาทุกปี ที่มีน้ำหนักของเห็ดเผาะ 4,081, 3,919 และ 3,700 กรัม/เฮกตาร์ ตามลำดับ และไม่พบดอกเห็ดในแปลงที่ไม่เผา อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างน้ำหนักเห็ดเผาะกับความถี่ของการเกิดไฟ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปปรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้าใจถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการเกิดไฟป่า ที่ส่งผลต่อเห็ดเผาะที่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ โดยความถี่ของไฟที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมผลผลิตของเห็ดเผาะและรักษาเสถียรภาพของป่าเต็งรังคือความถี่ไฟทุก 2 ปี
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. ม.ป.ป. ไฟแล้งและไฟป่า. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ
จักรวรรดิ ศุภวัฒน์วิโรจน์. 2551. ปัจจัยเชิงนิเวศ ไฟป่า และภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการเกิดดอกเห็ดเผาะ ในตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันจิรา อายะวงศ์, วินันท์ดา หิมะมาน, กิตติมา ด้วงแค, บารมี สกลรักษ์ และกฤษณา พงษ์พานิช. 2560. การศึกษานิเวศวิทยา การกระจายพันธุ์ และการทดสอบคุณลักษณะไมคอไรซาของเห็ดเผาะ. แหล่งที่มา: http://www.portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=44e3f5e0-a68f-4a04-beca-529cd16421be.pdf, 27 กุมภาพันธ์ 2561.
นายเกษตรอินทรีย์. 2559. เห็ดป่าหายาก เพาะง่าย ขายคล่อง. สำนักพิมพ์ปัญญาชน, กรุงเทพฯ
ราชบัณฑิตยสภา. 2550. เห็ดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสภา, กรุงเทพฯ
วรพรรณ หิมพานต์ และสันต์ เกตุปราณีต. 2551. ผลของไฟต่อพืชพรรณในป่าเต็งรังในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวนศาสตร์ 27 (1): 43-55.
ศิริ อัคคะอัคร, ไกรสร วิริยะ, ธนวัฒน์ ทองตัน และประยูรยงค์ หนูไชยา. 2547. รายงานวิจัยลักษณะเชื้อเพลิงในป่าเต็งรัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). 2561. บันทึกเหตุการณ์ภัยแล้ง ปี 2558/2559. แหล่งที่มา: http://www.thaiwater.net/current/2016/drought59/body.html, 4 มีนาคม 2661.
สันต์ เกตุประณีต, นิพนธ์ ตั้งธรรม, สุวิทย์ แสงทองพราว, ปรีชา ธรรมานนท์, นริศ ภูมิภาคพันธ์ และศิริ อัคคะอัคร. 2534. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องไฟป่าและผลกระทบต่อระบบป่าไม้ในประเทศไทย เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุนันทา วิสิทธิพานิช, วงศกร ไม้คู่, ปัญจรัตน์ จินตนา และสุดชาย วิสิทธิพานิช. 2551. รายงานผลงานวิจัยในปีแรก: ผลกระทบของสภาวะภัยแล้งและไฟป่าต่อนิเวศวิทยาของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
อุทัยวรรณ แสงวณิช. 2552. ความหลากหลายของเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา, น. 46-52. ใน รายงานการประชุม เรื่อง การจัดทำทะเบียนรายการชนิดเห็ดในประเทศไทย. 12 กุมภาพันธ์ 2552. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
Amedie, F.A. 2013. Impacts of Climate Change on Plant Growth, Ecosystem Services, Biodiversity and Potential Adaptation Measures. M. S. Thesis, University of Gothenburg, Sweden.
Bellard, C., C. Bertelsmeier, P. Leadley, W. Thuiller and F. Courchamp. 2012. Impacts of climate change on the future of biodiversity. Ecology Letters 2012: 1-16.
Chandrasrikul, A., P. Suwanarit, U. Sangwanit, S. Lumyong, A. Payapanon, N. Sanoamuang, C. Pukahuta, V. Petcharat, U. Sardsud, K. Duengkae, U. Klinhom, S. Thongkantha and S. Thongklam. 2011. Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning [ONEP], Bangkok.
Food and Agriculture Organization of the United Nations [FAO]. 2018. El Niño in Asia: Prolonged Dry Weather in Several Countries Affecting Plantings and Yield Potential of the 2015 Main Season Food Crops. Available Source: http://www.fao.org/3/a-I4829E.pdf, March 4, 2018.
Goldammer, J.G. 2000. Wildfires and forest development in tropical and subtropical Asia: outlook for the year 2000, pp. 164–176. In the Proceeding of Symposium on Wildland Fire 2000. April 27–30, 2000, South Lake, Tahoe, California.
Hirschberger, P. 2016. Forests Ablaze: Causes and Effects of Global Forest Fires. World Wildlife Fund [WWF] Deutschland, Berlin.
Kennedy, H.K. 2012. Fire and the production of Astraeus odoratus (Basidiomycetes) sporocarps in deciduous dipterocarp-oak forests of northern Thailand. Maejo International Journal of Science and Technology 6 (3): 483–504.
Kennedy, H.K. 2014. Effect of Fire on the Production of Astraeus (Basidiomycetes) Sporocarps in Deciduous Dipterocarp-Oak Forests. M. S. Thesis, Chiang Mai University.
Petcharat, V. 2003. Edible Astraeus (Basidiomycota) from Thailand. Nordic Journal of Botany 23: 499-503.
Phosri, C., R. Watling, M.P. Martín and A.J. S. Whalley. 2004. The genus Astraeus in Thailand. Mycotaxon 89 (2): 453-463.
Phosri, C., M.P. Martín and R. Watling. 2013. Astraeus: hidden dimensions. IMA Fungus 4 (2): 347–356.
Secretariat of the Convention on Biological Diversity. 2001. Impacts of Human-Caused Fires on Biodiversity and Ecosystem Functioning, and Their Causes in Tropical, Temperate and Boreal Forest Biomes. Secretariat of the Convention on Biological Diversity, Montréal, Québec. Canada.
The Convention on Biological Diversity. 2007. Biodiversity and Climate Change. United Nations Environment Programme [UNEP], Nairobi, Kenya.
Walter, H. 1955. Die Klima-Diagramme als Mittel zur Beurteilung der Klimaverhtltnisse fur kologische, vegetationskundliche und landwirtschaftliche Zwecke. Berichte Der Deutschen Botanischen Gesellschaft 68: 321-344.