การคาดการณ์การตอบสนองทางอุทกวิทยาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริเวณลุ่มน้ำย่อยน่านตอนบน โดยแบบจำลอง IFAS

Main Article Content

วิชุตา กันภัย
ปิยพงษ์ ทองดีนอก
นฤมล แก้วจำปา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์การตอบสนองทางอุทกวิทยา โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง Integrated Flood Analysis System (IFAS) บริเวณลุ่มน้ำย่อยน่านตอนบน จากปริมาณน้ำฝนย้อนหลัง 30 ปี (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2558) จำแนกเป็นปีปกติ และปีลานีญา และคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าจากภาพเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ. 2593 และ พ.ศ. 2613) จากปริมาณน้ำฝนในรายงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ฉบับที่ 5 ของ IPCC พร้อมทั้งวิเคราะห์ลักษณะทางอุทกวิทยาบางประการ ได้แก่ สภาพการให้น้ำท่า ร้อยละน้ำท่าต่อน้ำฝน ปริมาณน้ำท่ารวม และปริมาณน้ำท่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำท่าช่วงปี พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2558 มีค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 3,446.19 ลบ.ม./วินาที โดยมีค่าสูงสุดในปีลานีญา (พ.ศ. 2554) มีค่าเท่ากับ 4,893.24 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้พบว่า แบบจำลอง IFAS มีประสิทธิภาพดีในการพยากรณ์น้ำท่าเมื่อเทียบกับค่าตรวจวัดจริง โดยมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนระหว่าง 1.45 - 24.11 และค่าดัชนี NSE ระหว่าง 0.81-0.83 ส่วนการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของพลังงาน และความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2593 และ พ.ศ. 2613 มีค่าปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,736.88 และ 1,795.85 ลบ.ม./วินาที ตามลำดับ ซึ่งมีปริมาณน้ำท่าน้อยกว่าปีปกติร้อยละ 13.1 และ 10.2 ตามลำดับ ส่วนลักษณะทางอุทกวิทยาบางประการ บริเวณลุ่มน้ำย่อยน่านตอนบน พบว่าร้อยละน้ำท่าต่อน้ำฝน เท่ากับ ร้อยละ 17.29 สภาพการให้น้ำท่าเท่ากับ 10.78 ลบ.ม./วินาที/ตร.กม./ปี ปริมาณน้ำท่ารวมเท่ากับ 23,989.62 ลบ.ม./วินาที และปริมาณน้ำท่าสูงสุดเท่ากับ 367.44 ลบ.ม./วินาที จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถประยุกต์ใช้แบบจำลอง IFAS ในการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำย่อยน่านตอนบนได้ดี และพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตมีผลต่อปริมาณน้ำท่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2551. แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม. แหล่งที่มา: http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/web/13-2.htm., 17 ตุลาคม 2560.
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2537. ฤดูกาลของประเทศไทย. แหล่งที่มา: https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=53., 6 ตุลาคม 2560.
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2546. เอลนีโญ. แหล่งที่มา: http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=17., 19 พฤศจิกายน 2558.
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2553. รายงานความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยจังหวัดน่าน พ.ศ. 2542-2552. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรุงเทพฯ.
จตุพร ผดุงกาญจน์. 2555. ผลของปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา ต่อปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิอากาศและปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง เชิญ และคลองยัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัตธนภรณ์ คำศรี. 2558. การคาดการณ์น้ำท่าตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศของลุ่มน้ำน่านตอนบน โดยใช้แบบจำลองอุทกวิทยาบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศวรรณ หานุภาพ. 2556. การประเมินน้ำต้นทุนในเขตจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล, สำเริง ปานอุทัย และบุญมา ดีแสง. 2554. แบบจำลองน้ำท่าป่าต้นน้ำ. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการนิเวศวิทยาป่าไม้. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
มันทนา พฤกษะวัน. 2531. การหาผลกระทบของเอลนิโญที่มีต่อฝนในประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.578.1-02-2531. กรมอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.
มันทนา พฤกษะวัน และสุดาพร นิ่มมา. 2542. ผลกระทบของลานีญาที่มีผลต่อฝนและอุณหภูมิของประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.46-01-2542. กรมอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.
ศูนย์ภูมิอากาศ. 2559. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและปริมาณฝนจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.577.3-01-2559. กรมอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2551. ภาวะโลกร้อน: ผลกระทบต่อประเทศไทย. แหล่งที่มา: http://www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/climate-change/impacts/impacts-thailand/, 16 พฤศจิกายน 2560.
Abramowitz, M. and I.A. Stegun. 1972. Handbook of Mathematical Functions with Formulas, Graphs, and Mathematical Tables. Dover, New York.
Glantz, M.H. 2001. Currents of Change: Impacts of El Niño and La Niña on Climate and Society. 2nd edition. Cambridge University Press, United Kingdom.
Nash, J.E. and J.V. Sutcliffe. 1970. River flow forecasting through conceptual models part1: A discussion of principles. Journal of Hydrology 10 (3): 282-290.