ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (Crinum thaianum J. Schulze) บริเวณตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์พลับพลึงธารของประชาชน บริเวณตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ใช้สูตรของ Yamane (1973) กำหนดขนาดตัวอย่างใน 2 หมู่บ้าน ได้จำนวน 170 ครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งสิ้นจำนวน 297 ครัวเรือน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยแบ่งเป็นครัวเรือนที่มีที่ดินติดคลองและไม่ติดคลอง ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีทางสถิติค่า t-test ค่า F-test และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation) ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 95%
ผลการศึกษา พบว่าการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลับพลึงธารของประชาชน บริเวณตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนองอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.84) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลับพลึงธาร ได้แก่ ระดับการศึกษา (F=4.069, p-value=0.019) ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน (F=4.776, p-value=0.010) รายได้ต่อปีของครัวเรือน (F=3.927, p-value=0.022) การมีที่ดินทำกิน (t=2.351, p-value=0.026) การมีบทบาทในสังคม (t=6.280, p-value=0.000) ความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (r=0.586, p-value=0.000) และความคาดหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการตามแนวทางการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (r=0.491, p-value=0.000) ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการอนุรักษ์พลับพลึงธาร และสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากพลับพลึงธารอย่างยั่งยืน
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
จิตรลดา ศรีภา, ปิยพงษ์ ทองดีนอก และสิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวนศาสตร์ 32 (2): 80-88.
นิรันดร์รัตน์ ป้อมอิ่ม. 2559. การแพร่กระจายและสถานภาพการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (Crinum thaianum J. Schulze) ในประเทศไทย. วารสารวนศาสตร์ 35 (2): 11-20.
ประสิทธิ์ เลิศพิทยานนท์. 2552. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ในท้องที่ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชร นาราษฎร์, สันต์ เกตุปราณีต และไกรสร วิริยะ. 2557. การมีส่วนร่วมของราษฎรในการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านโนนชาด ตำบลดงเค็ง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 66-75.
สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน. 2557. แผนแม่บทงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศ อำเภอสุขสำราญ-กะเปอร์ จังหวัดระนอง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ สุนทรนวภัทร. 2554. พลับพลึงธาร: พืชหนึ่งเดียวในโลกที่ใกล้จะสูญพันธุ์. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) สำนักงานคุระบุรี, พังงา.
สันติ สุขสอาด และรัชดา ศรีศักดิ์บางเตย. 2558. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวนศาสตร์ 34 (1): 101-111.
สายสุดใจ ชุนเชาวฤทธิ์ และมานพ ผู้พัฒน์. 2553. สภาพปัญหาและการอนุรักษ์พลับพลึงธาร. กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
สิน พันธุ์พินิจ. 2554. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วิทยพัฒน์, กรุงเทพฯ.
สำรวย สุดเฉลียว, สันต์ เกตุปราณีต และปัสสี ประสมสินธ์. 2557. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงระแนง อำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 47-56.
Hinkle, D.E., W. Willium and G.J. Stephen. 1998. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. Houghton Mifflin, New York.
Hiscock, P. 2003. Encyclopedia of Aquarium Plant. Available Source: http://www.en.wikipedia.org/wiki/Crinum_thaianum, July 5, 2015.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. Haper International Edition, Tokyo.