โปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติในพื้นที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

แสงสรรค์ ภูมิสถาน
วารุณี กันทากาศ
นันทชัย พงษ์พัฒนานุรักษ์
ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง
สุคิด เรืองเรื่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติบนพื้นฐานของทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติขุนดง ในพื้นที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีระยะทางรวมประมาณ 1.9 กิโลเมตร ความลาดชันเฉลี่ยตลอดเส้นทางน้อยกว่า 5 องศา การศึกษาครั้งนี้มีขั้นตอนในการศึกษาทั้งหมด 2 ส่วนหลัก คือ 1) การออกแบบโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ โดยพิจารณาจากลักษณะทั่วไปของเส้นทาง และศักยภาพของทรัพยากรนันทนาการ เพื่อให้การออกแบบโปรแกรมสื่อความหมายสอดคล้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ และ 2) การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ โดยใช้แบบประเมินที่ออกแบบขึ้นมาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติขุนดงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นทางเดินวนเป็นวงรอบ สำหรับการออกแบบโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ เมื่อพิจารณาจากฐานทรัพยากรที่โดดเด่นในพื้นที่สามารถกำหนดเค้าโครงเรื่องหลัก คือ พลวัตของป่าดิบแล้งภูมิภาคอีสาน ซึ่งมีทั้งหมด 10 จุดสื่อความหมาย โดยใช้รูปแบบสื่อความหมายเป็นวีดิทัศน์บรรยายข้อมูล เพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้มาเยือนในปัจจุบัน ในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิผลในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังการฟังวีดิทัศน์บรรยายข้อมูล ( gif.latex?\bar{x} = 9.49, SD = 1.718) มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนฟังวีดิทัศน์บรรยายข้อมูล ( gif.latex?\bar{x} = 6.69, SD = 1.697) (จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.049, P-value = 0.000 ) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติขุนดงที่จัดทำขึ้นเกิดประสิทธิผล โดยสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศแก่ผู้มาเยือนได้มากขึ้น ในส่วนของข้อเสนอแนะควรมีการจำกัดจำนวนคนที่เข้าไปใช้เส้นทาง เนื่องจากการนำเสนอการสื่อความหมายในรูปแบบวีดิทัศน์บรรยายข้อมูลจำเป็นต้องนำเสนอในพื้นที่ที่มีความเงียบ และควรมีการพัฒนาโปรแกรมสื่อความหมายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนิเวศมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัยสั้น

References

คณะวนศาสตร์. 2555. สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. แหล่งที่มา: http://www.forest.ku.ac.th/camp/campw.pdf, 17 กรกฎาคม 2558.
นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, วสันต์ จันทร์แดง, แสงสรรค์ ภูมิสถาน, สราวุธ สังข์แก้ว, รุ่งเรือง พูลศิริ, พิชิต ลำไย, ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์, นรินธร จำวงษ์, พยัตติพล ณรงคะชวนะ, ยุทธพงษ์ คีรีมังคละ และนพพร จันทร์เกิด. 2558. แผนพัฒนาป่าสาธิตวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2559-2463). คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สินชัย หอมจันทร์, ดรรชนี เอมพันธุ์ และสันต์ เกตุปราณีต. 2557 การพัฒนาโปรแกรมสื่อความหมายในเส้นทางจักรยานพื้นที่บางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวนศาสตร์ 33 (1): 97-107.
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2555. การสื่อความหมายธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ส่วนนันทนาการและสื่อความหมาย, กรุงเทพฯ.
แสงสรรค์ ภูมิสถาน, นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, ภูริวัจน์ เดชอุ่ม, สมหมาย อุดมวิทิต, ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี, วรานันต์ ตันติเวทย์ และสุคิด เรืองเรื่อ. 2559. การพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
เอกชัย พรหมแสง. 2557. การออกแบบโปรแกรมการสื่อความหมายธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินป่าระยะไกล ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง. วารสารวนศาสตร์ 33 (2): 77-87.
Ham, S.H. 1992. Environmental interpretation: A practical guide for people with big ideas and small budgets. North American Press, Colorado.
National Park Service, U.S. Department of the Interior. 2007A. Foundations of Interpretation Curriculum Content Narrative. Available Source: http://www.nps.gov/idp/interp/101/FoundationsCurriculum.pdf, November 2, 2015.
National Park Service, U.S. Department of the Interior. 2007B. Interpretive Themes. Available Source: https://www.nps.gov/idp/interp/101/themes.pdf, November 2, 2015.
Tilden, F. 1957. Interpreting our heritage. Chapel Hill, North Carolina: University of North Carolina Press.