การประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ต่อการปลูกสักสายต้นต่างๆ ในประเทศไทย

Main Article Content

พรเทพ เหมือนพงษ์
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์
จงรัก วัชรินทร์รัตน์
สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของไม้สักสายต้นต่างๆ ที่พัฒนาพันธุ์โดยกรมป่าไม้เพื่อปลูกเป็นสวนป่าในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยโดยการประเมินค่าความเพิ่มพูนทางพันธุ์ (genetic gain) ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับ 1.30 เมตร เพื่อคัดเลือกสายต้นที่มีความเหมาะสมในแต่ละลักษณะพื้นที่ โดยใช้ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าสายต้นที่ดีที่สุด 10 อันดับแรกในพื้นที่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่หมายเลข 336, 335, 265, 324, 273, 160, 271, 267, 89 และ 333 ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรได้แก่หมายเลข 120, 245, 282, 116, 327, 83, 129, 290, 146 และ 158 และในท้องที่จังหวัดสงขลาได้แก่สายต้นหมายเลข 246, 36, 119, 336, 292, 345, 91, 159, 27 และ 130 ตามลำดับ จากการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งพื้นที่ตามสมรรถนะที่ดินในการปลูกไม้สักได้เป็น 5 ระดับโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และระดับปานกลาง เท่ากับ 89.66 และ 25.0 ล้านไร่ตามลำดับ รวมพื้นที่ที่สามารถปลูกสวนป่าไม้สักเพื่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งหมดเท่ากับ 117.88 ล้านไร่ การปลูกสวนป่าไม้สักควรเลือกพื้นที่ และสายต้นที่มีความเหมาะสมเท่านั้น และควรเลี่ยงการใช้กล้าไม้ที่ไม่ทราบแหล่งพันธุกรรมที่แน่ชัดในการปลูกสร้างสวนป่า เพื่อให้สวนป่ามีการเติบโต และผลผลิตสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมป่าไม้. 2556. องค์ความรู้ไม้สักไทย. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ทศพร วัชรางกูร, จตุพร มังคลารัตน์, ประพาย แก่นนาค, สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, สมชาย นองเนือง และวิโรจน์ ครองกิจศิริ. 2553. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยและคาดคะเนการเจริญเติบโต และผลผลิตของสวนป่าไม้เศรษฐกิจ. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
พงศ์ โสโน และนิรันดร์ ลอยชื่น. 2521. อัตราการเจริญเติบโตของสักในป่าห้วยทาก อำเภองาว จังหวัดลำปาง จากการวิเคราะห์ตอไม้ที่ทำออกเพื่อการปลูกสร้างสวนป่า ปี 2521. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก. 2548. ข้อมูลการเจริญเติบโตของไม้สัก. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, ประสิทธิ์ เพียรอนุรักษ์ และจำนรรจ์ เพียรอนุรักษ์. 2543. การวิจัย และพัฒนาพันธุ์ไม้สัก เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเชิงพาณิชย์. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล. 2550. การพัฒนาสายพันธุ์ไม้สักเพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ. ในการสัมมนาทางวนวัฒนวิทยาครั้งที่ 8. 6-8 มิถุนายน 2550. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อนิวรรต เฉลิมพงษ์. 2535. การเจริญเติบโตของไม้สักในสวนป่าห้วยทาก. ใน สัมมนา 50 ปี สวนสักห้วยทากเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษามหาราชินี. 5-8 สิงหาคม 2535. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
อภิชาต ขาวสะอาด. 2528. คู่มือการปรับปรุงพันธุ์ไม้สัก. ฝ่ายวนวัฒนวิจัย, กองบำรุง, กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
Assis, T.F. and M.D.V. Resende. 2011. Genetic improvement of forest tree species. Crop Breed. Appl. Biotechnol 11.
Baker, W.A. 1975. Manual of Quantitative Genetics. Students book corp. Washington.
Ball, J.B., D. Pandey and S. Hirai. 1999. Global Overview of Teak Plantations. In Proceeding of the Regional seminar site, Technology and Productivity of Teak Plantations. 26-29 January, 1999. Chiang Mai, Thailand.
Boonyuen, S., J. Mungkararat, P. Kannak, P. Pianhanurak, S. Wattanasuksakul and C. Pianhanurak. 2007. First evaluation clonal test of Teak (Tectona grandis L.f.) from rooted cutting seedlings set 1 at 5 year old. In The 5th silvicultural seminar. 27-29 March, 1991. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok.
Espitia, C. M., M.G Olman., C.P. Carlos. 2011. Expected genetic gain in teak (Tectona grandis L.f.) in Cordoba, Colombia. Applied Life Science 14 (1).
Goh, D.K., D. Alloysius, J. Gidiman, H.K. Han, B. Mallet and O. Monteuuis. 2005. Selection and propagation of superior teak for quality improvement in plantations: case study of the ICSB/Cirad-Forêt joint project. Kerala Forest Research Institute, India and International Tropical Timber Organization, Japan.
Goh, D.K. and O. Monteuuis. 2005. Rationale for developing intensive teak clonal plantations, with special reference to Sabah. Bois et Forêts des Tropiques 285: 5-15.
Goh, D.K.S., G. Chaix, H. Baillères and O. Monteuuis. 2007. Mass production and quality control of teak. clones for tropical plantations. The Yayasan Sabah Group and CIRAD. Available source: http://bft.cirad.fr/cd/BFT_293_65-77.pdf, February 1, 2017.
Jayasankar, S., L.C. Babu, K. Sudhakara and P.D. Kumar. 1999. Evaluation of provenances for seedling attributes in teak (Tectona grandis Linn. F.). Silvae Genet. 48: 115–122.
Kaosa-ard, A., V. Suangtho and E.D. Kjaer. 1998. Genetic improvement of teak (Tectona grandis) in Thailand. Forest Genetic Resources 26: 21-29.
Kjaer, E.D., H.R. Siegismund and V. Suangtho. 1996. A multivariate study on genetic variation in teak (Tectona grandis L.f). Silvae. Genet. 45: 361–368.
Kumaravelu, G. 1993. Teak in India. pp. 27–34. In Henry, W. (ed.) Teak in Asia, FORSPA Publication No. 4, Bangkok.
Mascarenhas, A.F., S.V. Kendurkar, P.K. Gupta, S.S. Khuspi and D.C. Agrawal. 1987. Tissue culture in Teak. In Bonga, J.M. and J. Durzan, (eds.) Cell and Tissue Culture in Forestry, Vol. II.
Murillo, O. and Y. Badilla. 2004. Breeding teak in Costa Rica. IUFRO Forest Genetics Meeting Proceedings. NC State University, Charleston.
Nicodemus, A., B. Nagarajan, A.K. Mandal and K. Subramanian. 2000. Genetic improvement of teak in India Potentials and Opportunities in Marketing and Trade of Plantation Teak: Challenge for the New Millennium. In Proceedings of 3rd Regional Seminar on Teak. 31 July–August, 2000. Faculty of Forestry, Gadjah Mada University, Yogyakarta, Indonesia.
Pandey, D. and C. Brown. 2000. Teak: a global overview. Unasylva 51: 3–13.
Pinyopusarerk, K. 1990. Acacia auriculiformis: An Annotated Bibliography. Winrock International-F/FRED and ACIAR, Bangkok, Thailand.
Rao, R.J. 2004. Fast-growing teak clone developed. The Hindu. Available source: http://www.thehindu.com/2004/06/15/stories/2004061501870500.htm, February 1, 2017.
Sukchan, S and I. Noda. 2012. Improvement of soil suitability mapping for teak plantations in Northeast Thailand. JIRCAS working report no. 74. JIRCAS.
Swain, D., S.C. Mohanty, R. Sharma, A.K. Mandal and B.N. Gupta. 1996. Preliminary analysis of quantitative characters in Teak. Proc. Indian Natn. Sci. Acad. (62): 169-172.
Tangmitcharoen, S., S. Nimpila, J. Phuangjumpee. and P. Piananurak. 2012. Two-year results of a clonal test of teak (Tectona grandis L.f.) in the Northeast of Thailand. JIRCAS working report no. 74. JIRCAS, Japan.
Viriyabuncha, C., S. Janmahasatien and K. Paewsa-ad. 2005. Assessment of the Potentiality of Reafforestation Activities in Climate Change Mitigation. Department of National park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok.
Wichiennopparat, W., M. Wanpinit, T. Visaratana, B. Kietvuttinon, I. Noda, S. Sukchan, A. Sasrisang and N. Soonthornwit. 2015. Soil Suitability Map for Teak Plantation in Buriram and Ubon Ratchathani Provinces. Royal Forest Department, Bangkok.
White, K.J. 1991. Teak: Some Aspects of Research and Development. Report No. 1991/17, FAO/RAPA, Bangkok.