การประมาณแก่นและการกักเก็บคาร์บอนของไม้พะยูง ณ สถานีวนวัฒนวิจัยหมูสี จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประมาณแก่นและการกักเก็บคาร์บอนของไม้พะยูง 5 ถิ่นกำเนิด ที่อายุ 30 ปี ที่สถานีวนวัฒนวิจัยหมูสี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปลูกด้วยระยะปลูก 4×4 เมตร เพื่อศึกษาปริมาณแก่น โดยการสร้างสมการแอลโลเมตริกจากความสัมพันธ์ของมิติของต้นไม้กับมวลชีวภาพแก่น และศึกษาการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของไม้พะยูง 5 ถิ่นกำเนิด ผลการศึกษาพบว่า ไม้พะยูงถิ่นกำเนิดเขาใหญ่ มหาสารคาม มวกเหล็ก ศรีสะเกษ และดงลาน มีอัตราการรอดตาย 49.33, 24.21, 58.93, 49.45 และ 60.60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยเท่ากับ 21.89, 21.64, 21.08, 21.72 และ 23.40 เซนติเมตร ตามลำดับ คิดเป็นความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปี 0.70-0.78 เซนติเมตรต่อปี มีความสูงทั้งหมดเฉลี่ย เท่ากับ 20.82, 20.61, 20.35, 20.67 และ 21.67 เมตร ตามลำดับ คิดเป็นความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปี 0.68-0.72 เมตรต่อปี มีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 12.33, 5.99, 13.60, 12.24 และ 17.32 ตารางเมตรต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ มีปริมาณแก่น เท่ากับ 17.77, 9.34, 17.94, 18.49 และ 31.07 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ โดยปริมาณแก่นทั้ง 5 ถิ่นกำเนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเพิ่มขึ้น สำหรับมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 113.93, 56.59, 120.28, 114.39 และ 174.78 ตันต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ มีการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดิน เท่ากับ 54.39, 27.05, 57.39, 54.65 และ 83.64 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ทั้งนี้ถิ่นกำเนิดดงลานเป็นถิ่นกำเนิดที่มีปริมาณแก่นมากที่สุด มีมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินมากที่สุด
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
ชิงชัย วิริยะบัญชา. 2546. คู่มือการประมาณมวลชีวภาพของหมู่ไม้. ฝ่ายวนวัฒนวิจัยและพฤกษศาสตร์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
ทศพร วัชรางกูร, จตุพร มังคลารัตน์, ประพาย แก่นนาค, สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, สมชาย นองเนือง และ วิโรจน์ ครองกิจศิริ. 2553. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การคาดคะเนการเจริญเติบโต และผลผลิตของสวนป่าไม้เศรษฐกิจ ภายใต้ แผนงานวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ไม้สวนป่าเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม. กลุ่มงานวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการ ป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ธิติ วิสารัตน์ และเกรียงไกร โพธิงาม. 2556ก. การเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของสวนป่ากระถินณรงค์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส และพะยูง, น.164-178. ใน ผลงานวิชาการป่าไม้ การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2556 “ผลผลิตและงานวิจัยป่าไม้ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. 5-9 สิงหาคม 2556.กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ธิติ วิสารัตน์ และเกรียงไกร โพธิงาม. 2556ข. การกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของสวนป่ากระถินณรงค์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส และพะยูง อายุ 25 ปี, น. 179-190. ใน ผลงานวิชาการป่าไม้ การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2556 “ผลผลิตและงานวิจัยป่าไม้ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. 5-9 สิงหาคม 2556. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
นวพงษ์ เกื้อสกุล และพรเทพ เหมือนพงษ์. 2558. ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีและสมการเพื่อประเมินอัตราส่วนแก่นของไม้พะยูงในประเทศไทย, น. 150-154. ใน รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2552. การประมาณมวลชีวภาพของ พืชและของป่าไม้. วารสารการจัดการป่าไม้ 3 (5): 63–88.
พรเทพ เหมือนพงษ์. 2559. ไม้พะยูง: จากเสาล้อมคอกวัวถึงพระราชวังต้องห้าม, น. 188-189. ใน 8 ทศวรรษ วนศาสตร์ ศาสตร์แห่งชีวิต. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิชาญ เอียดทอง, อรพรรณ จันทร์แก้ว, สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ และกุศล ตั้งใจพิทักษ์. 2557. บันทึกถึงความผันแปรสีและลวดลายแก่นไม้พะยูง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารการจัดการป่าไม้ 8 (15): 23-36.
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ. 2556. พะยูง: แนวทางการอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรพันธุกรรม, น. 427-438. ใน ผลงานวิชาการป่าไม้ การประชุมการป่าไม้ประจำปี พ.ศ. 2556 “ผลผลิตและงานวิจัยป่าไม้ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. 5-9 สิงหาคม 2556. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เสริมพงศ์ นวลงาม และจงรัก วัชรินทร์รัตน์. 2543. บทบาทของการปลูกสร้างสวนป่าต่อการกักเก็บคาร์บอนที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการปลูก สร้างสวนป่า จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร วนศาสตร์ 19 (21): 96-103.
IPCC. 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. International Panel on Climate Change.IGES, Hayama, Japan.
IUCN. 2009. IUCN red list of threatened species (version 2009.1) IUCN. Available source: http://www.iucnreslist.org, August 14, 2009.
Satoo, T. and M. Senda. 1958. Meterials for the studies of growth in stand. IV. Amount of leaves and production of wood in young plantation of Chameacyparis obtusa. Bull. Tokyo University.For. 54: 7-100.