การวิเคราะห์ทางการเงินของไม้อเคเซีย เอาลาโคคาร์ปา ณ สถานีวนวัฒนวิจัยทรายทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการปริมาตรของไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ สมการน้ำหนักสดของไม้ฟืน และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านการเงินจากการปลูกสร้างสวนป่าไม้อเคเซีย เอาลาโคคาร์ปา ณ สถานี วนวัฒนวิจัยทรายทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้เกณฑ์วัดความเหมาะสมในการลงทุนโครงการ 3 วิธี คือ อัตราส่วน ผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 8, 10, 12 และ 14 อายุโครงการ 26 ปี ตลอดจนวิเคราะห์ความอ่อนไหวและทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนด้านต้นทุน และด้านผลประโยชน์ของโครงการ
ผลการศึกษา พบว่าสมการปริมาตรไม้ที่ทำเป็นสินค้าได้ คือ V = 0.0000000530D1.903H3.022, R2 = 0.980 และสมการน้ำหนักสดของไม้ฟืน คือ W = -3.792 + 12.990D - 27.542X1, R2 = 0.970 เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางด้านการเงิน ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 8, 10, 12 และ 14 B/C มีค่ามากกว่า 1 NPV มีค่ามากกว่า 0 และ IRR มีค่ามากกว่าอัตราส่วนลดที่กำหนด แสดงว่า โครงการได้รับกำไร ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ พบว่า ทั้ง 3 รูปแบบ ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 8, 10 และ 12 B/C มีค่ามากกว่า 1 NPV มีค่ามากกว่า 0 และ IRR มี ค่ามากกว่าอัตราส่วนลดที่กำหนด แสดงว่า โครงการได้รับกำไรและมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ และทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนด้านต้นทุนและด้านผลประโยชน์ซึ่งมีค่าสูง แสดงว่า โครงการมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น การลงทุนปลูกสร้างสวนป่าไม้อเคเซีย เอาลาโคคาร์ปา เป็นการลงทุนที่ได้รับกำไรและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ จึงเป็น โครงการที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมใหเ้กษตรกรดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าไม้อเคเซีย เอาลาโคคาร์ปา ต่อไป
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
บางรักษ์ เชษฐสิงห์, วิเชียร ปิยาจารประเสริฐ, บุญส่ง สมเพาะ และเชาวลิตร วงศ์ศรีแก้ว. ม.ป.ป. กลสมบัติและกายภาพสมบัติของไม้ Acacia aulacocarpa. งานคุณสมบัติและวิศวกรรมโครงสร้างไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สถานีวนวัฒนวิจัยทรายทอง. 2559. ข้อมูลสถานีวนวัฒนวิจัย. สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ สุขวงศ์. 2552. วิธีสร้างโมเดลสมการถดถอยในงานวิจัยป่าไม้. วารสารการจัดการป่าไม้ 3 (5): 89-98.
สันติ สุขสอาด และอรรถชัย บรมบัญญัติ. 2557. การตลาดและการวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำสวนไม้กฤษณาในจังหวัดระยอง. วารสารวนศาสตร์ 33 (2): 103-112.
สันติ สุขสอาด และอภิชาติ กาพย์มณี. 2558. การตลาดและการวิเคราะห์ทางการเงินของไม้สักในสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร วนศาสตร์ 34 (2): 62-72.
สุจิตรา จางตระกูล, พิเศรษฐ ลือชานิมิตจิต, พนิดา จิวราวัฒน์ และวิโรจน์ รัตนพรเจริญ. 2536. Acacia aulacocarpa, น. 299-306. ใน เอกสารส่งเสริมการปลูกป่า. ฝ่ายวนวัฒนวิจัย กองบำรุง กรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.