การปรับปรุงความแข็งแรงของกระดาษปะหน้า โดยการใช้เยื่อไผ่ตงทดแทนเยื่อใยยาวจากไม้ใบแคบ

Main Article Content

อารุณรัตน์ บุบผา
สาวิตรี พิสุทธิ์พิเชฎฐ์
พิชิต สมบูรณ์

บทคัดย่อ

โดยทั่วไปกระดาษปะหน้า จะประกอบไปด้วยกระดาษสองชั้น ได้แก่ กระดาษชั้นบนและกระดาษชั้นฐาน ซึ่งการผลิตกระดาษชั้นบนในโรงงานกระดาษ จะมีการใช้เยื่อไม่ฟอกสีเส้นใยสั้นจากไม้ยูคาลิปตัสปริมาณร้อยละ 55 และเส้นใยยาวจากไม้ใบแคบปริมาณร้อยละ 45 ในการศึกษานี้ จึงได้ทำการทดแทนเส้นใยยาวจากไม้ใบแคบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเยื่อเส้นใยยาวไม่ฟอกสีจากไผ่ตง ที่สัดส่วนการทดแทนเยื่อไม้ใบแคบต่อเยื่อไผ่ตงในระดับต่างๆ คือ 45:0, 30:15, 15:30 และ 0:45 ตามลำดับ


จากผลการศึกษา พบว่า เส้นใยไผ่ตงมีความยาวของเส้นใย (2.48 มม.) สูงกว่าเส้นใยของไม้ใบแคบเล็กน้อย (2.39 มม.) แต่กลับมีปริมาณผนังเซลล์ต่อพื้นที่หน้าตัดของเส้นใย ซึ่งแสดงด้วยค่าสัดส่วนรังเคิล (0.97) มีปริมาณที่มากกว่าในไม้ใบแคบมาก (0.64) ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้กระดาษที่ผลิตจากเยื่อไผ่ตงมีสมบัติด้านความแข็งแรงต่อแรงฉีกสูงกว่า แต่ให้ความแข็งแรงต่อแรงดึงต่ำกว่ากระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ใบแคบ เมื่อทำการผสมเยื่อไผ่ตงทดแทนลงไปในเยื่อไม้ใบแคบ พบว่า ที่สัดส่วนไม้ใบแคบต่อเยื่อไผ่ตงที่ 30:15 และ 15:30 ที่ทุกๆ ระดับการตีเยื่อ จะให้กระดาษที่มีค่าดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึง แรงฉีก แรงดันทะลุ และแรงกดวงแหวน รวมถึงความต้านทานต่อการหักพับ ที่สูงกว่ากระดาษที่ไม่มีการผสมเยื่อไผ่ตง ได้แก่ ที่สัดส่วนไม้ใบแคบต่อเยื่อไผ่ตงที่ 45:0 จะเห็นได้ว่า เยื่อไผ่ตงมีส่วนช่วยทำให้ความแข็งแรงของกระดาษดีขึ้น โดยอาจผสมเยื่อไผ่ตงทดแทนเยื่อไม้ใบแคบลงไปในกระดาษปะหน้าชั้นบน ได้มากถึงร้อยละ 60 หรือที่สัดส่วนการทดแทนที่ระดับ 30:15

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วันทนี สาตราคม, บวร วัฒนเสรี, บุญสืบ จิตติวาณิชย์ และดวงใจ ลิ้มสกุล. 2515. คุณสมบัติของไม้ไผ่ในประเทศไทยด้านทำเยื่อกระดาษ. กรมวิทยาศาสตร์, กระทรวงอุตสาหกรรม.
สมหวัง ขันตยานุวงศ์. 2551. เอกสารประกอบการสอนเรื่องเส้นใยเยื่อและกระดาษ: สมบัติทางกายภาพ. ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bawagan, P.V. 1972. The Analyses of some Fundamental Fiber-Paper Property Relationship. M.S. Thesis, Norwegian University of Science and Technology.
International Organization for Standardization. 2011. Paper, board and pulp. ISO Standards Correction (CD-ROM), Geneva, Switzerland.
Kamthai, S. and P. Puthson. 2005a. The Physical Properties, Fiber Morphology and Chemical Composition of Sweet Bamboo (Dendrocalamus asper Backer). Kasetsart journal (Nat.sci) 39 (4): 581-587.
Kamthai, S. 2005b. Effect of Beating Revolution on Sweet Bamboo (Dendrocalamus asper Backer) Kraft Pulp. Chiang Mai journal sci 4 (2): 137-147.
Kline, J.E. 1991. Paper and Paperboard Manufacturing and Converting Fundamentals. 2nded. Miller Freeman Publications, inc., San Francisco.
Nitisoravut, N. and R.O. Malinen. 2007. Fiber morphology and papermaking properties of selected Thai bamboos. Appita Annual Conference 1: 83-89.
Panthai, S. and P. Somboon. 2014. Examination of Separate and Mixed Refining Method on Softwood and Hardwood Pulp for Linerboard Production. Kasetsart journal 48 (4): 540-547.
Pisuttipiched, S. 2004. Effect of Tree Age on Wood Properties of Eucalyptus camaldulensis in Thailand. Thai Journal of Forestry. 23 (2): 152-160.
Spencer, H.S., N.G.M. Tuck and R.W. Gordon. 1983. Beating and Refining, pp.136. In R.G. Macdonald and J.N. Franklin., eds. Pulp and Paper Manufacture. Mcgraw-hill book company, Atlanta.
Technical Association of the Pulp and Paper industry (TAPPI). 2002. 2002-2003 TAPPI Test Methods. TAPPI Press, Atlanta, Georgna.