ความคิดเห็นของราษฎรต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคนกับช้างป่า โดยการขุดคู บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ามานาน จึงได้ใช้วิธีการขุดคูกันช้างรอบพื้นที่เป็นระยะทางยาวกว่า 466 กิโลเมตร แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ ความคิดเห็นของราษฎรที่อยู่ในแนวคูแต่ประการใด ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพทางเศรษฐกิจสังคม ศึกษาระดับความคิดเห็น และปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของราษฎร ต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคนกับช้างป่า โดยการขุดคูของราษฎรบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้การสัมภาษณ์ประชาชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 5 หมู่บ้าน 337 ครัวเรือน และทำการวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (p < 0.05) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.33 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.07 คน มีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เฉลี่ย 23.82 ปี มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก มีอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพรอง มีรายได้รวมของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 130,210 บาท มีรายจ่ายรวมของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 110,040 บาท มีที่ดินทำกินเฉลี่ย 23.60 ไร่ จำนวนที่ดินทำกินที่ราษฎรต้องการเพิ่มเฉลี่ย 19.58 ไร่ นิยมปลูกมันสำปะหลัง เคยถูกช้างป่าเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 68.8 ปริมาณความเสียหายจากช้างป่า มีค่าเฉลี่ย 19.60 ครั้ง/ปี จำนวน 4.35 ไร่ 7.58 ต้น 27,879 บาท มีการรับรู้แนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนเป็นอย่างดี และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับช้างป่าจากญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้าน ระดับความคิดเห็นของราษฎรอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อย
ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความความคิดเห็นของราษฎรต่อการไขปัญหาความขัดแย้งคนกับช้างป่าโดยการขุดคู คือ ระดับความเสียหายที่เกิดจากช้างป่า
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
คณะวนศาสตร์. 2556. แผนการอนุรักษ์และแก้ปัญหาช้างในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จงรัก ทรงรัตนพันธุ์. 2545. ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคราม อําเภอกาญจนดิษฐ์และอําเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญลือ พูลนิล. 2546. ความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประทีป ลิสกุลรักษ์. 2547. ความคิดเห็นของราษฎรต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่ากุยบุรีของโครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพ็ญศรี พิพัฒน์ และสันติ สุขสะอาด. 2557. ความคิดเห็นของราษฎรต่อกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย กรณีศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวนศาสตร์ 33 (2) : 113-122
ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน. 2555. แผนการจัดการพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ฉบับที่ 2 ระยะเวลา 5 ปี (2555 - 2560). คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สดายุ สุทธิมาส. 2549. ความคิดเห็นของราษฎรต่อโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงพระชนมายุ 72 พรรษา ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุบงกช จามีกร. 2526. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Conbach, W.G. 1977. Sampling Techniques. 3rded New York: John Wiley and Sons Inc.
Likert, R. 1932. A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of psychology 140 (1): 1-55
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. Harper International Edition, Tokyo.